Skip to Content

กฎกระทรวง ฉบับที่ 384 (พ.ศ. 2565) การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสือด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 384 (พ.ศ. 2565)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ

ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์

 

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 และมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่จะมีข้อความกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

“เอกสารหลักฐานหรือหนังสือ” หมายความว่า แบบ รายงาน บัญชี ใบกำกับภาษี ใบรับ รวมถึงเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใด ที่ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใด ต้องมี จัดทำ หรือใช้ตามที่บัญญัติในประมวลรัษฎากร หรือต้องใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพากร

“แบบ” หมายความว่า แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แบบนำส่งภาษีเงินได้ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะ และให้หมายความรวมถึงแบบอื่นใดที่อธิบดีกำหนดให้จัดทำขึ้น

“รายงาน” หมายความว่า รายงานประจำปี รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานมูลค่าของฐานภาษี รายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานเกี่ยวกับกิจการที่ทำการแทน และรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษี และให้หมายความรวมถึงรายงานอื่นใดที่อธิบดีกำหนดให้จัดทำขึ้น

“บัญชี” หมายความว่า บัญชีงบดุล บัญชีท าการ บัญชีก าไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือบัญชีพิเศษ และให้หมายความรวมถึงบัญชีอื่นใดที่อธิบดีกำหนดให้จัดทำขึ้น

“ผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้เสียภาษีอากร ผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้มีหน้าที่ออกใบรับ หรือบุคคลใด ให้ดำเนินการจัดทำ ส่ง หรือเก็บรักษา แบบ รายงาน บัญชี ใบกำกับภาษี ใบรับ เอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดแทนโดยได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร

 

หมวด 1

การดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร

----------------------------- 

ข้อ 3 ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรที่ใช้ในการติดต่อกับผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดต้องมีกระบวนการอย่างน้อยในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้เสียภาษีอากร ผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้มีหน้าที่ออกใบรับ หรือบุคคลใด ซึ่งติดต่อกับกรมสรรพากร โดยอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

(2) วิธีการที่ทำให้สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภท ลักษณะหรือรูปแบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

(3) กระบวนการที่ทำให้เอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่กรมสรรพากรได้รับอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยสามารถแสดงหรืออ้างอิงเพื่อใช้ในภายหลัง และยังคงความครบถ้วนของข้อความในเอกสารหลักฐานหรือหนังสือนั้น

(4) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบอิเล็กทรอนิกส์

(5) ก าหนดเวลาเริ่มต้นหรือสิ้นสุดการท าการของระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการยื่นหรือส่งเอกสารหลักฐานหรือหนังสือแก่กรมสรรพากร

(6) วิธีการแจ้งการได้รับเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ

ข้อ 4 ให้กรมสรรพากรใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่ได้มีการยื่นหรือส่งให้แก่กรมสรรพากรโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร โดยเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ ตลอดจนข้อความในเอกสารหลักฐานหรือหนังสือนั้น ปรากฏอย่างถูกต้องและคงอยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่ได้รับ และในภายหลังสามารถเข้าถึงได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด

 

หมวด 2

เอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่ใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพากร

------------------------------ 

ข้อ 5 การจัดทำและการยื่นหรือส่งเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดอาจดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือดำเนินการโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรได้

ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดจะมอบหมายให้ตัวแทนหรือผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้

ข้อ 6 ผู้เสียภาษีอากรผู้ใดประสงค์จะยื่นหรือส่งเอกสารหลักฐานหรือหนังสือแก่กรมสรรพากรโดยการเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตนกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ให้ยื่นคำขออนุญาตเชื่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่ออธิบดี โดยผู้เสียภาษีอากรนั้นต้องมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

(1) มีกระบวนการตามข้อ 3 (1) (2) และ (3)

(2) มีความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เสียภาษีอากรที่ได้เชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรต้องมีลักษณะตามวรรคหนึ่งเสมอ

ให้อธิบดีมีอำนาจไม่อนุญาตหรือยกเลิกการอนุญาตการเชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร

ข้อ 7 ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นคำขออนุญาตเชื่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่ออธิบดี โดยต้องมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) มีกระบวนการตามข้อ 3 (1) (2) และ (3)

(2) มีความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศตามที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศกำหนด

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้เชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรต้องมีลักษณะตามวรรคหนึ่งเสมอ

ให้อธิบดีประกาศรายชื่อผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับอนุญาต

ให้อธิบดีมีอำนาจไม่อนุญาตหรือยกเลิกการอนุญาตการเชื่อมต่อกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรและลบชื่อออกจากประกาศตามวรรคสาม

ข้อ 8 การจัดทำเอกสารหลักฐานหรือหนังสือตามข้อ 5 ให้กระทำในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ 9 การยื่นหรือส่งเอกสารหลักฐานหรือหนังสือของผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดให้แก่กรมสรรพากร โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ให้ถือว่ากรมสรรพากรได้รับตามวันและเวลาที่เอกสารหลักฐานหรือหนังสือได้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และให้กรมสรรพากรออกหลักฐานยืนยันการรับเอกสารหลักฐานหรือหนังสือดังกล่าวเข้าสู่ระบบให้แก่ผู้ยื่นหรือผู้ส่งด้วย ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ยื่นหรือผู้ส่งนั้นได้รับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อความที่ปรากฏในเอกสารหลักฐานหรือหนังสือนั้น

ข้อ 10 ภายใต้บังคับข้อ 18 เอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้บุคคลต้องมี จัดทำหรือเก็บรักษาไว้ เพื่อการภาษีอากร และได้มีการจัดทำต้นฉบับในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือได้มีการแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดำเนินการเก็บรักษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 

หมวด 3

ใบกำกับภาษีและใบรับ

 -------------------------------------

ข้อ 11 การจัดทำ ส่ง หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับ นอกจากที่ได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้ ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในหมวด 2

ข้อ 12 ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ทั้งนี้ ตามรายชื่อที่อธิบดีประกาศอาจจัดทำ ส่ง หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับจะมอบหมายให้ตัวแทนตามหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด าเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นำความในข้อ 6 มาใช้บังคับแก่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตัวแทน และข้อ 7 มาใช้บังคับแก่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดำเนินการตามหมวดนี้ด้วย

ผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ตัวแทนตามหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรหรือผู้ให้บริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีหรือใบรับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่มีการจัดทำ ส่ง หรือรับ รวมทั้งสามารถตรวจสอบการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบกำกับภาษีหรือใบรับได้

ข้อ 13 การจัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับดำเนินการตามข้อ 8 และดำเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย

(1) ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในใบกำกับภาษีหรือใบรับ โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับการรับรองจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

(2) ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้และสามารถแสดงข้อความในภายหลังได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถตรวจสอบการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบกำกับภาษีหรือใบรับได้

(3) มีรูปแบบ ขนาด และประเภทของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือหน่วยงานอื่นที่อธิบดีประกาศรายชื่อจะให้การรับรองใบกำกับภาษีหรือใบรับแทนการใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ตาม (1) ก็ได้

ข้อ 14 ในกรณีที่มีการมอบหมายตามข้อ 12 วรรคสอง ให้ดำเนินการจัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามที่กำหนดในข้อ 13 โดยให้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ได้รับมอบหมายแทน

ข้อ 15 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับดำเนินการส่งใบกำกับภาษีหรือใบรับที่จัดทำขึ้นตามข้อ 13 ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผลของการส่งและรับเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กรณีใบกำกับภาษีหรือใบรับที่จัดทำขึ้นตามข้อ 13 วรรคหนึ่ง หากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ประสงค์ให้ส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับดำเนินการทำสิ่งพิมพ์ออกของใบกำกับภาษีหรือใบรับนั้นตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งให้แทน ทั้งนี้ ต้องมีข้อความระบุในสิ่งพิมพ์ออกนั้นว่าได้มีการส่งข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

ข้อ 16 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับแจ้งข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับที่จัดท าขึ้นตามข้อ 13 ตามรายการที่ก าหนดในมาตรา 86/4 มาตรา 86/9 มาตรา 86/10 หรือมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ให้แก่กรมสรรพากรโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ 9 มาใช้บังคับด้วย

การแจ้งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรตามวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ข้อ 17 ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับประสงค์จะยกเลิกใบกำกับภาษีหรือใบรับฉบับเดิมและออกใบกำกับภาษีหรือใบรับขึ้นใหม่แทนใบกำกับภาษีหรือใบรับที่ได้จัดทำและส่งให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้จัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับฉบับใหม่ โดยให้ระบุรายการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย

(1) ข้อความยกเลิกใบกำกับภาษีหรือใบรับฉบับเดิม

(2) เลขที่และวันเดือนปีที่จัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับฉบับเดิม

(3) คำอธิบายโดยย่อถึงสาเหตุในการจัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับฉบับใหม่

เมื่อได้จัดท าใบก ากับภาษีหรือใบรับขึ้นใหม่ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ด าเนินการส่งให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 16 มาใช้บังคับด้วย

ข้อ 18 ให้ผู้ประกอบการจดท ะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ รวมถึงตัวแทนตามมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับที่ได้จัดท าขึ้นหรือได้รับ โดยใบก ากับภาษีหรือใบรับตลอดจนข้อความในใบกำกับภาษีหรือใบรับนั้น ปรากฏอย่างถูกต้องและคงอยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่จัดทำ ส่ง หรือได้รับ และสามารถเข้าถึงได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด

บทเฉพาะกาล

--------------------

ข้อ 19 ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับซึ่งได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้จัดทำหรือส่งใบกำกับภาษีหรือใบรับโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เป็นผู้ที่อยู่ในรายชื่อที่อธิบดีประกาศตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

________________________________________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้าและมีการทำธุรกรรมด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง ประกอบกับมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 บัญญัติให้บรรดาหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร แบบ ใบกำกับภาษี รายงานเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใด ที่ต้องมี จัดทำ หรือใช้ ตามที่บัญญัติในประมวลรัษฎากรและบรรดาเอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดต้องใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพากร อาจกระทำด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)