ไม่รวมเป็นรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินทุนนำเข้าเพื่อชดเชยผลการขาดทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินทุนนำเข้าเพื่อชดเชยผลการขาดทุนข้อเท็จจริงธนาคาร ก สาขาประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกงซึ่งไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับ ประเทศไทย แจ้งว่า ในปัจจุบันและปีที่ผ่านมาลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้คืนและกลายเป็นหนี้เสีย ธนาคาร ฯ จึงตั้งเงินสำรองหนี้สูญเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลขาดทุน แต่ในทางภาษีอากรยังคงมีกำไรอยู่ เนื่องจากการตั้งสำรองหนี้สูญดังกล่าวไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรได้ ผลการขาดทุน ดังกล่าวทำให้กองทุนของธนาคารฯ ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้นำเงินจาก สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกงเข้ามาชดเชยผลขาดทุนที่เกิดขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 39, มาตรา 66แนววินิจฉัยเงินทุนจากสำนักงานใหญ่ของธนาคารที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งไม่มีอนุสัญญา ภาษีซ้อนกับประเทศไทย ซึ่งสาขาประเทศไทยนำเข้ามาชดเชยผลการขาดทุนจากการตั้งสำรองหนี้สูญนั้น ไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นนิติบุคคลเดียวกันจึง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/07674 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 |