แปลงเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราข้อเท็จจริงบริษัทฯ กู้เงินจากต่างประเทศเมื่อปี 2539 จำนวน 2,000,000 US $ อัตราแลกเปลี่ยน ในขณะนั้น 26 บาท ต่อ 1 US $ คิดเป็นเงินไทย 52,000,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีเป็น เจ้าหนี้เงินกู้ต่างประเทศทั้งจำนวน ณ วันได้รับมาเรียบร้อยแล้ว และระหว่างปี 2539 บริษัทฯ ได้ ชำระเงินกู้ดังกล่าวไป 200,000 US $ ในอัตราแลกเปลี่ยน 26.12 บาท ต่อ 1 US $ และมีขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน 24,000 บาท เมื่อสิ้นงวดบัญชี ปี 2539 คือวันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทฯ มี หนี้สินเป็นเงินตราต่างประเทศ 1,800,000 US $ แต่บริษัทฯ มิได้ปรับปรุงกำไรหรือขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยน ต่อมาในปี 2540 เมื่อเดือนมิถุนายน 2540 บริษัทฯ ชำระเงินกู้ดังกล่าวเป็นงวดที่ 2 อีก จำนวน 200,000 US $ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 26.45 บาท ต่อ 1 US $ มีผลขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยน 90,000 บาท ต่อมาบริษัทฯ ชำระเงินกู้งวดที่ 3 เมื่อเดือนกันยายน 2540 จำนวน 200,000 US $ อัตราแลกเปลี่ยน 47.2445 บาท ต่อ 1 US $ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 4,248,000 บาท ดังนั้น เมื่อสิ้นงวดบัญชี ณ 31 ธันวาคม 2540 บริษัทฯ มีหนี้สินคงเหลือ 1,400,000 US $ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นงวดบัญชีเท่ากับ 39.2206 บาท ต่อ 1 US $ แต่บริษัทฯ มิได้ ปรับปรุงในทางบัญชี ณ วันสิ้นงวดบัญชี ถึงผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะบริษัทฯ มี เหตุผล 3 ประการ ดังนี้ 1. งวดบัญชีปี 2540 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน (ซึ่งรวมถึงผลกำไรหรือ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในระหว่างงวดบัญชีแล้ว) ซึ่งถ้าบริษัทฯ ปรับปรุงผลขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยนอีกจำนวน 18,508,000 บาท จะทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น 21,508,000 บาท 2. บริษัทฯ เห็นว่า จากกรณีข้อ 1 จะทำให้สรรพากรได้เปรียบ ซึ่งถ้าหากปี 2541 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเกินกว่า 3 ล้านบาท (เท่าที่บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากปี 2540) บริษัทฯ พร้อมที่จะชำระค่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3. เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรายังผันผวนอยู่มาก บริษัทฯ จึงมิได้ปรับปรุง อัตราแลกเปลี่ยนผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นงวดบัญชี ขอทราบว่า บริษัทฯ มีสิทธิที่จะไม่ปรับปรุงผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วัน สิ้นงวดบัญชีปี 2540 ได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ มีหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ใน วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคำนวณไว้ ผลของการคำนวณถ้ามีผลกำไรหรือขาดทุน จากการตีราคาหนี้สินดังกล่าว ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้หรือรายจ่ายแล้วแต่กรณี ใน รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ทั้งจำนวนตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณ รายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจากการปรับปรุงระบบการ แลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิที่จะไม่ปรับปรุงผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วัน สิ้นงวดบัญชีแต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/12918 ลงวันที่ 02 กันยายน 2541 |