Skip to Content

รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อเท็จจริง

1. บริษัทฯ ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้า

โดยได้ดำเนินการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ คอนโดมิเนียม ในการพัฒนาโครงการดังกล่าว บริษัทฯ

ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินได้กำหนดให้มีการบำรุงรักษา

สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ พร้อมกำหนดให้มีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเพื่อการบริหารและจัดการการอยู่ร่วมกันของสมาชิกใน

โครงการให้เกิดความผาสุกและปลอดภัย เพื่อเป็นการสนับสนุนการบริหารงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน

ได้กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคโดยเรียกเก็บจากผู้ซื้อ นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติ

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรอาจขอการสนับสนุนความช่วยเหลือจากเจ้าของโครงการ สำหรับรายการที่จำเป็นเพื่อการอยู่อาศัยของลูกบ้าน

2. บริษัทฯ ได้รับการร้องขอจากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ

ที่ทางบริษัทฯ เป็นเจ้าของโครงการ ให้บริษัทฯ มอบที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ซึ่งตั้งอยู่ข้างบริเวณโครงการฯ

ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ เพื่อให้สภาพแวดล้อมและให้การอยู่อาศัยของลูกบ้านในโครงการดังกล่าวสะดวกสบาย

3. บริษัทฯ เห็นว่า เพื่อประโยชน์ของความเป็นอยู่ของลูก

บ้านของโครงการฯ ซึ่งบริษัทฯ เป็นเจ้าของโครงการ บริษัทฯ จึงมอบที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์ให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ และบริษัทฯ

ได้นำมูลค่าที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์ที่ได้มอบให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เนื่องจากบริษัทฯ

เห็นว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการไม่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ความเห็นของบริษัทฯ ถูก

ต้องหรือไม่

4. จากการไต่สวนเพิ่มเติม ปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้

4.1คลับเฮ้าส์ที่ได้

โอนให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ตั้งอยู่บนที่ดินนอกผังของโครงการฯ แต่ติดอยู่กับที่ดินของโครงการฯ คลับเฮ้าส์มีเนื้อที่ 3 ไร่ 48.1

ตารางวา ราคาทุนที่ดินที่ซื้อมาราคาตารางวาละ 8,267.43 (ราคาประเมินตารางวาละ 6,300 บาท) รวมเป็นราคาต้นทุนที่ดิน จำนวน

2,877,893.66 บาท ซื้อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 และได้มีการก่อสร้างคลับเฮ้าส์ มูลค่ารวมจำนวน 16,625,595.17 บาท สร้างเสร็จเมื่อ

เดือนมกราคม 2548 บริษัทฯ คิดค่าเสื่อมราคาไปแล้วจำนวน 3,511,872.30 บาท คงเหลือมูลค่า ณ วันโอน (27 มีนาคม 2552) จำนวน

13,113,722.87 บาท

4.2สำหรับ

ทรัพย์สินในคลับเฮ้าส์ ที่บริษัทฯ ต้องโอนให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ได้แก่ อุปกรณ์ฟิตเนส โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ มูลค่ารวมจำนวน

365,688.97 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม จำนวน 310,078.86 บาท คงเหลือมูลค่า ณ วันโอน จำนวน 55,610.11 บาท

4.3ในผัง

โครงการฯ ที่ขาย ไม่มีคลับเฮ้าส์ เมื่อขายบ้านในโครงการฯ เสร็จสิ้นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ จึงได้ร้องขอให้บริษัทฯ มอบที่ดินและ

อาคารคลับเฮ้าส์ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ บริษัทฯ จึงทำสัญญาให้ที่ดิน พร้อมอาคารเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2552 โดยตีราคาเพื่อเป็นทุน

ทรัพย์ในการเสียค่าธรรมเนียมไว้เป็นจำนวน 16,604,500 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายในการโอนให้ดังกล่าว นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ เป็นผู้ออกให้

แทนบริษัทฯ

4.4 การ

โอนอสังหาริมทรัพย์ที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ โดยไม่มีค่าตอบแทน บริษัทฯ มิได้บันทึกเป็นรายได้ทางบัญชี

โดยเห็นว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 มาตรา 91/2(6) และมาตรา 91/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

เนื่องจากกรณีที่บริษัทฯ โอนที่ดินพร้อมอาคารคลับเฮ้าส์

ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ไม่ใช่เป็นการโอนทรัพย์สินที่เป็น สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.

2543 การโอนทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตาม

ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 378) พ.ศ. 2544 ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ โอนที่ดินพร้อมอาคารคลับเฮ้าส์ จึงถือเป็น

การโอนทรัพย์สิน โดยไม่มีค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันสมควร และพิจารณาภาระภาษีได้ดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

1.1บริษัทฯ ต้อง

นำราคาตลาดของที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์ รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ออกให้

มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

1.2บริษัทฯ มี

สิทธินำมูลค่าที่ดินของอาคารคลับเฮ้าส์ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และกรณีที่บริษัทฯ บันทึกอาคารคลับเฮ้าส์ซึ่งปลูกสร้าง

บนที่ดินดังกล่าว เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ และได้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างตามหลักเกณฑ์ วิธีการ

เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน

(ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 เมื่อบริษัทฯ โอนอาคารคลับเฮ้าส์ดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าอาคารคลับเฮ้าส์

ที่เหลืออยู่มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

กรณีที่บริษัทฯ โอนที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์ให้แก่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์

เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 บริษัทฯ ต้องนำราคาตลาดของที่ดินและอาคารคลับเฮ้าส์

ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นราคาที่

ใช้อยู่ในวันที่มีการโอน รวมทั้งเงินค่าธรรมเนียม ค่าภาษีและค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ออกแทน มารวม

คำนวณเป็นรายรับของบริษัทฯ ในการคำนวณเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/8991 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)