Skip to Content

รายจ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของบริษัทในเครือ (ข้อหารือสำนักงานสรรพากรภาค)

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของบริษัทในเครือ (ข้อหารือสำนักงานสรรพากรภาค)


ข้อเท็จจริง

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของบริษัทในเครือ (ข้อหารือสำนักงานสรรพากรภาค)


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1.กรณีบริษัทฯ กู้ยืมเงินระยะยาวจาก บริษัทในเครือ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ในสัดส่วนร้อยละ 100 และคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ร้อยละ 4.5 ถึง 5.59 ต่อปี แต่ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ได้นำเงินของกิจการไปให้ บริษัทในเครือ กู้ยืมในระยะสั้น โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ถึง 2.75 ต่อปี การกำหนดอัตราดอกเบี้ยมีความแตกต่างกันระหว่างเงินที่บริษัทฯ กู้ยืม กับเงินที่ให้ บริษัทในเครือ กู้ยืม กรณีถือว่า บริษัทในเครือเดียวกันเดียวกันกู้ยืมเงินกันเองจะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าใดก็ได้ แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาด การคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืม ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และนำไปถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.กรณีบริษัทฯ มีเงินเพียงพอที่จะชำระคืนเงินต้นบางส่วน ก่อนถึงกำหนดระยะเวลาตามแผนการชำระหนี้เงินกู้ แต่ไม่ชำระ กลับนำเงินที่มีอยู่ไปให้ บริษัทในเครือ กู้ยืมระยะสั้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบริหารเงินรายวันแบบกลุ่มให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด ทำให้บริษัทฯ ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ดอกเบี้ยจ่ายส่วนต่างจึงไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/4782 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2558

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)