ผลเสียหาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายเนื่องจากการยักยอกทรัพย์
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลเสียหายเนื่องจากการยักยอกทรัพย์ข้อเท็จจริงบริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชและสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย และกำจัดศัตรูพืชหรือโรคของพืชและสัตว์ บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน ของปีถัดไป ในการขายสินค้าบริษัทฯ ได้มอบหมาย ให้พนักงานขายไปติดต่อกับลูกค้าและมีหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้าด้วย ในปี 2546 นาย พ. ผู้จัดการ ฝ่ายขายได้ยักยอกเงินสดจำนวน 720,508 บาท และสินค้าเป็นมูลค่า 365,175 บาท รวมค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 1,085,683 บาท ซึ่งบริษัทฯ และ พนักงานอัยการได้ดำเนินการฟ้องร้องนาย พ. ในข้อหา ยักยอกและฉ้อโกง ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม 2547 นาย พ. รับสารภาพในชั้นศาล พร้อมทั้งยินยอม ผ่อนชำระค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เดือนละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. ผลเสียหายจากการยักยอกเงินสดและสินค้าดังกล่าว บริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ และเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด 2. เงินที่บริษัทฯ ได้รับคืนจากนาย พ. จะถือเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ได้รับเงินถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 และมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยตามข้อเท็จจริง กรณีที่พนักงานของบริษัทฯ ได้ยักยอกเงินและสินค้าของบริษัทฯ ไป โดย บริษัทฯ และพนักงานอัยการได้ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล และในวันที่ 1 มีนาคม 2547 พนักงาน ดังกล่าวได้รับสารภาพและได้ตกลงผ่อนชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ เป็นประจำทุกเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี กรณีถือได้ว่า เป็นผลเสียหายอันเนื่องจาก การประกอบกิจการของบริษัทฯ ดังนั้น 1. หากผลเสียหายดังกล่าวมิอาจได้กลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผลเสียหาย ดังกล่าวเกิดขึ้น คือ รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 เนื่องจากพนักงานรับสารภาพในชั้นศาลในวันที่ 1 มีนาคม 2547 2. บริษัทฯ ต้องนำเงินที่ได้รับจากการผ่อนชำระจากพนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายได้ในการ คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีด้วยตามมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/1435 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 |