จ่ายเงินได้ไปต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศข้อเท็จจริงบริษัท A จำกัด ได้ยื่นคำร้อง ค.10 ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเดือนกรกฎาคม 2538 และเดือนมกราคม 2539 จากการตรวจสอบ เอกสารหลักฐานสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า 1. บริษัท A ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับ BANKAMERICA SINGAPORE LIMITED AND BA ASIA LIMITED ฮ่องกง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2538 เป็นจำนวนเงินกู้ตามสัญญา 78,000,000.00 เหรียญสหรัฐฯ กำหนดใช้คืนในวันที่ 25 มกราคม 2541 2. ขณะเดียวกันบริษัท A ได้ทำสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับ บริษัท B โดยผ่านบัญชี CITYBANK กำหนดเป็นจำนวนเงิน 50,000,000.00 เหรียญสหรัฐฯ โดยใช้สัญญาหลัก ของ ไอ เอส ดี เอ ฉบับปี 2535 ซึ่งกำหนดให้บริษัท A เป็นผู้จ่ายในอัตราคงที่ จ่ายทุก 6 เดือน จน ครบกำหนดชำระเงินในวันที่ 25 มกราคม 2541 และกำหนดให้ บริษัท B เป็นผู้จ่ายอัตราลอยตัว โดย จ่ายทุก 6 เดือน จนครบกำหนดชำระเงิน 3. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการแลกเปลี่ยนดังกล่าว บริษัท B จะส่งผลต่างระหว่าง อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยซึ่งคำนวณตามอัตราที่ตกลงแลกเปลี่ยนกันให้กับบริษัท A โดยงวด สำหรับเดือนกรกฎาคม 2538 เป็นจำนวนเงิน 7,783,628.44 บาท และงวดสำหรับเดือนมกราคม 2539 เป็นจำนวนเงิน 13,764,285.97 บาท สพท. เห็นว่า การที่บริษัท A ทำสัญญากู้ยืมเงินจาก BANKAMERICA SINGAPORE LIMITED AND BA ASIA LIMITED และในขณะเดียวกันก็ทำสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตรา ดอกเบี้ยกับบริษัท B เพื่อจ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ถือได้ว่าการชำระเงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยให้ กับบริษัท B นั้นเสมือนเป็นการกู้ยืมเงินสกุลเหรียญสหรัฐในฐานะเจ้าหนี้ การชำระเงินดังกล่าวจึงเข้า ลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้ กู้ยืมตามมาตรา 40 (4) ก แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัท A ชำระเงินตามสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนไป ให้ บริษัท B ซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัท A จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ใน อัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร จึงหารือว่า ความเห็นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ สรรพากรภาค ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวได้มีแนววินิจฉัยของ กรมสรรพากรพิจารณาไว้เป็น 2 แนว ซึ่งขัดแย้งกัน ดังนี้ 1. ตามหนังสือที่ กค 0802/14866 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 ได้วินิจฉัยว่าสัญญาที่ทำขึ้น ระหว่างกันเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย โดยกำหนดจำนวนเงินขึ้น เพื่อประโยชน์ในการคำนวณ ดอกเบี้ยซึ่งจะแลกเปลี่ยนกันในแต่ละงวด จึงไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทส่งออก ไปให้คู่สัญญาในต่างประเทศ จึงไม่ถือเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจการพาณิชย์ จึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัทในประเทศไทยส่งผลต่างของอัตราดอกเบี้ยออกไปให้คู่สัญญา ซึ่ง มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยบริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด 2. ตามหนังสือที่ กค 0802/4441 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2539 เป็นกรณีที่บริษัททำสัญญากู้ กับธนาคารต่างประเทศ และขณะเดียวกันก็ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนอัตรา ดอกเบี้ยกับธนาคารผู้ให้กู้ ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและมีผลให้ผู้กู้ต้องชำระหนี้เงินกู้ ยืมให้เจ้าหนี้เสมือนเป็นการกู้ยืมเงินสกุลที่ทำสัญญาแลกเปลี่ยนกัน การชำระเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยน ดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้นขอทราบว่า เงินได้ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเงินได้ประเภทใด และผู้จ่ายเงินได้ ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อัตราเท่าใด กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(4)(ก), มาตรา 70แนววินิจฉัยบริษัท A จำกัด ได้ยื่นคำร้อง ค.10 ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเดือนกรกฎาคม 2538 และเดือนมกราคม 2539 จากการตรวจสอบ เอกสารหลักฐานสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า 1. บริษัท A ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับ BANKAMERICA SINGAPORE LIMITED AND BA ASIA LIMITED ฮ่องกง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2538 เป็นจำนวนเงินกู้ตามสัญญา 78,000,000.00 เหรียญสหรัฐฯ กำหนดใช้คืนในวันที่ 25 มกราคม 2541 2. ขณะเดียวกันบริษัท A ได้ทำสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับ บริษัท B โดยผ่านบัญชี CITYBANK กำหนดเป็นจำนวนเงิน 50,000,000.00 เหรียญสหรัฐฯ โดยใช้สัญญาหลัก ของ ไอ เอส ดี เอ ฉบับปี 2535 ซึ่งกำหนดให้บริษัท A เป็นผู้จ่ายในอัตราคงที่ จ่ายทุก 6 เดือน จน ครบกำหนดชำระเงินในวันที่ 25 มกราคม 2541 และกำหนดให้ บริษัท B เป็นผู้จ่ายอัตราลอยตัว โดย จ่ายทุก 6 เดือน จนครบกำหนดชำระเงิน 3. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการแลกเปลี่ยนดังกล่าว บริษัท B จะส่งผลต่างระหว่าง อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยซึ่งคำนวณตามอัตราที่ตกลงแลกเปลี่ยนกันให้กับบริษัท A โดยงวด สำหรับเดือนกรกฎาคม 2538 เป็นจำนวนเงิน 7,783,628.44 บาท และงวดสำหรับเดือนมกราคม 2539 เป็นจำนวนเงิน 13,764,285.97 บาท สพท. เห็นว่า การที่บริษัท A ทำสัญญากู้ยืมเงินจาก BANKAMERICA SINGAPORE LIMITED AND BA ASIA LIMITED และในขณะเดียวกันก็ทำสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตรา ดอกเบี้ยกับบริษัท B เพื่อจ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ถือได้ว่าการชำระเงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยให้ กับบริษัท B นั้นเสมือนเป็นการกู้ยืมเงินสกุลเหรียญสหรัฐในฐานะเจ้าหนี้ การชำระเงินดังกล่าวจึงเข้า ลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้ กู้ยืมตามมาตรา 40 (4) ก แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัท A ชำระเงินตามสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนไป ให้ บริษัท B ซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัท A จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ใน อัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร จึงหารือว่า ความเห็นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ สรรพากรภาค ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวได้มีแนววินิจฉัยของ กรมสรรพากรพิจารณาไว้เป็น 2 แนว ซึ่งขัดแย้งกัน ดังนี้ 1. ตามหนังสือที่ กค 0802/14866 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 ได้วินิจฉัยว่าสัญญาที่ทำขึ้น ระหว่างกันเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย โดยกำหนดจำนวนเงินขึ้น เพื่อประโยชน์ในการคำนวณ ดอกเบี้ยซึ่งจะแลกเปลี่ยนกันในแต่ละงวด จึงไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทส่งออก ไปให้คู่สัญญาในต่างประเทศ จึงไม่ถือเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจการพาณิชย์ จึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัทในประเทศไทยส่งผลต่างของอัตราดอกเบี้ยออกไปให้คู่สัญญา ซึ่ง มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยบริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด 2. ตามหนังสือที่ กค 0802/4441 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2539 เป็นกรณีที่บริษัททำสัญญากู้ กับธนาคารต่างประเทศ และขณะเดียวกันก็ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนอัตรา ดอกเบี้ยกับธนาคารผู้ให้กู้ ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและมีผลให้ผู้กู้ต้องชำระหนี้เงินกู้ ยืมให้เจ้าหนี้เสมือนเป็นการกู้ยืมเงินสกุลที่ทำสัญญาแลกเปลี่ยนกัน การชำระเงินตามสัญญาแลกเปลี่ยน ดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้นขอทราบว่า เงินได้ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเงินได้ประเภทใด และผู้จ่ายเงินได้ ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อัตราเท่าใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/10872 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 |