Skip to Content

การให้บริการ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการจ่ายเงินค่าก่อสร้าง

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการจ่ายเงินค่าก่อสร้าง


ข้อเท็จจริง

มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งได้ว่าจ้างบริษัท ก. ทำการก่อสร้างอาคาร โดยให้บริษัทฯ จ่าย

เงินค่าก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างไปก่อน ต่อมามหาวิทยาลัยฯ จึงผ่อนชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยใน

อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำนวน 12 งวด มหาวิทยาลัยฯ จึงหารือดังต่อไปนี้

1. เงินค่างวดที่เป็นค่าก่อสร้างมหาวิทยาลัยฯ ต้องถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ

7.0 ใช่หรือไม่

2. ดอกเบี้ยที่มหาวิทยาลัยฯ จ่ายให้บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่และบริษัทฯ

ต้องนำไปชำระภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ใช่หรือไม่

3. จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย คือ ดอกเบี้ย

รวมกับต้นเงินที่ยังไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะ ใช่หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 77/1(10), มาตรา 77/2(1), มาตรา 91/2(5), มาตรา 69 ทวิ

แนววินิจฉัย

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การรับเงินค่าก่อสร้างพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจ้างก่อสร้าง ถือเป็นสัญญา

บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา

77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมหาวิทยาลัยฯผู้รับบริการใน

อัตราร้อยละ 7.0 และนำส่งกรมสรรพากร

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างไปก่อน โดยให้

มหาวิทยาลัยฯ ชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.0 ต่อปี เป็นจำนวน 12 งวด เป็นกรณีที่บริษัทฯ ได้รับ

ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยจากเงินส่วนหนึ่งของเงินค่าก่อสร้างที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากมหาวิทยาลัยฯ การ

ประกอบกิจการดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา

91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

3. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จำนวนเงินที่ถือเป็นฐานในการคำนวณ

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ เงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม มหาวิทยาลัยฯ

ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/40 ลงวันที่ 03 มกราคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)