Skip to Content

BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำผลขาดทุนไปหักออกจากกำไรของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนำผลขาดทุนไปหักออกจากกำไรของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการสกัดน้ำมันปาล์ม ได้รับสิทธิและประโยชน์ตาม

มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ

กำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม มีกำหนดเวลาเจ็ดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จาก

การประกอบกิจการนั้น โดยมิได้ระบุในบัตรส่งเสริมฯ ว่าบริษัทฯ ได้รับสิทธิที่นำผลขาดทุนประจำปีที่

เกิดขึ้นระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลัง

ระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงหารือว่า บริษัทฯ จะนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล มาหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมี

กำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่พ้นกำหนดเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (12)

แนววินิจฉัย

บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31

วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และตามข้อ 4 ของประกาศกรมสรรพากร

เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการ

ส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ กรมสรรพากรฯ

ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ดังนี้

2.1 กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการเฉพาะที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง

กิจการเดียว

(ก) บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งหมด โดยไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับ

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(ข) การนำผลขาดทุนประจำปีไปหักออกจากกำไรสุทธิตาม 2.1(ก) บริษัทฯ

จะเลือกหักออกจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้

2.2 กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่ไม่ได้รับ

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

(ก) กรณีกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีผลขาดทุนประจำปี และ

กิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไรสุทธิ บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่

ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่

เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี

(12) แห่งประมวลรัษฎากรเสียก่อน หากผลขาดทุนนั้นคงที่มีเหลืออยู่ บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนที่ยังคง

เหลืออยู่นั้นยกไปใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการในปีต่อไป

(ข) กรณีกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีผลขาดทุนประจำปี และ

กิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไรสุทธิและมีผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อน

บริษัทฯ จะต้องนำผลขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน ถ้ากิจการที่ไม่ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไรสุทธิเหลืออยู่ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดขึ้นใน

แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (12)

แห่งประมวลรัษฎากรได้

(ค) บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนประจำปีคงเหลือตาม 2.2(ก) และ (ข)

ของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะส่วนที่เกินกำไรสุทธิของกิจการดังกล่าวที่เกิดขึ้น

ในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่

ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีสิทธิเลือกถือปฏิบัติตาม 2.2(ข)

แต่ทั้งนี้ในวรรคแรกควรเพิ่มเติมข้อความในตอนท้ายว่า แม้ว่าในบัตรส่งเสริมฯ จะมิได้

ระบุสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520

ก็ตาม และคำอธิบายในข้อ 2.1(ก) ตอนท้าย ควรเพิ่มเติมข้อความว่า มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่

วันพ้นกำหนดเวลานั้น ผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวจะต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิในส่วนที่เกินกำไรสุทธิของกิจการ

ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม.06)/1178 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)