BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับเงินชดเชยจากสัญญาประกันภัย
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับเงินชดเชยจากสัญญาประกันภัยข้อเท็จจริงลูกค้าของบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในโครงการด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงผลพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า อันได้แก่ ไอน้ำและน้ำเย็นเพื่อการอุตสาหกรรม โดยที่เป็นลักษณะเฉพาะของธุรกิจด้านพลังงาน บริษัทฯ ต้องลงทุนก่อสร้างโรงงานรวมทั้งท่อส่งพลังงาน ไปยังโรงงานของลูกค้าที่ต้องการรับซื้อพลังงานจากบริษัทฯ ซึ่งเป็นเงินจำนวนสูงมาก ดังนั้น บริษัทฯ จึง จำเป็นต้องมีการลงนามในสัญญาซื้อขายพลังงานกับลูกค้า ในระยะยาวเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัทฯ ว่าลูกค้าจะผูกพันตนในการรับซื้อพลังงานในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทยเป็นลูกค้าหลักรายใหญ่ที่สุด นอกจากนั้นสัญญาซื้อขายพลังงานยังมีข้อกำหนดว่าบริษัทฯ จะต้องจัดส่งพลังงานให้ตาม กำหนดเวลาตามสัญญา ในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งให้ได้ ทางบริษัทฯ จะถูกกำหนดให้ต้องเสียค่าปรับ จำนวนสูง ดังนั้นโดยข้อจำกัดข้างต้น บริษัทฯ จึงต้องจัดทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทรับประกันภัยเพื่อ คุ้มครองในส่วนของรายได้และความสูญเสียของบริษัทฯ ที่อาจจะได้รับหรือสูญเสีย เพื่อรองรับต้นทุน ค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่ได้ลงทุนไปในโครงการ โดยแยกพิจารณาการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยดังนี้ (1) ความคุ้มครองการสูญเสียรายได้หรือขาดรายได้อันเกิดจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ บริษัทโดยตรง เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างโรงงานหรืออุปกรณ์ต่อเนื่องให้บริษัทฯ ไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถผลิตขายพลังงานให้แก่ลูกค้าได้ทันตามกำหนดอันทำให้บริษัทฯ จะสูญเสียรายได้ อันพึงจะได้รับตามปกติที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทฯ ยังต้องรับภาระต้นทุน ทางการเงิน (ดอกเบี้ย)เพิ่มเติมเนื่องจากต้องหาแหล่งเงินอื่นมาทดแทนในส่วนเงินรายได้ที่ขาดหายไป (2) ความคุ้มครองการสูญเสียรายได้อันเนื่องจากผลกระทบจากลูกค้า เช่น การไฟฟ้าฯ ไม่สามารถรับซื้อพลังงานอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นแก่โรงงานของการไฟฟ้าฯ สำหรับค่าชดเชยรายได้ที่บริษัทฯ สูญเสียไปและได้รับจากบริษัทประกันภัยข้างต้น บริษัท ประกันภัยจะจ่ายให้ในลักษณะการคำนวณดังนี้รายได้ทั้งหมดที่สูญเสีย 100 บาทต้นทุนที่เกี่ยวเนื่อง 60 บาท (เฉพาะต้นทุนก๊าซและน้ำ)จำนวนเงินที่เรียกชดเชย 40 บาท บริษัทฯ จึงขอทราบว่า หากบริษัทฯ ได้รับรายได้ที่ได้รับชดเชยจากสัญญาประกันภัย (1) และ (2) และวิธีการคำนวณข้างต้น ซึ่งได้รับมาสุทธิจากบริษัทประกันภัยเท่าที่บริษัทสูญเสียรายได้จาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงนั้น บริษัทฯ สามารถบันทึกเป็นรายได้ในส่วนของกิจการที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนทั้งจำนวนได้และได้รับยกเว้นภาษีอากรตามบัตรส่งเสริมการลงทุนจะเป็นการถูกต้อง หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น รายได้ที่บริษัทฯ ได้รับชดเชยจากสัญญาประกันภัยไม่ถือเป็น รายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/07685 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 |