BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการใช้ผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการใช้ผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนข้อเท็จจริงบริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและ จำหน่ายอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ ผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง ฟาร์มไก่เนื้อ ธุรกิจซื้อขายหลายประเภท ได้แก่ พืช น้ำมัน เหล็ก และมีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี โดยบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ บัตร 1 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2538 ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตอาหารสัตว์ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่ วันที่ 2 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับ จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนด 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิประโยชน์ในการหักค่าประปาสองเท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งต้องมี กำลังผลิตอาหารสัตว์ปีละประมาณ 96,000 ตัน บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิตามบัตร 1 ที่สาขาพิษณุโลก บัตร 2 ลงวันที่ 19 มกราคม 2544 ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไก่เนื้อ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนด 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิประโยชน์ในการหักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา สองเท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวจนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ซึ่งต้องมีกำลังผลิตไก่เนื้อ ปีละประมาณ 4,650,000 ตัว บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิตามบัตร 2 ที่สาขาลพบุรี บัตร 3 ลงวันที่ 18 กันยายน 2545 ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไก่เนื้อ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงิน ลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่ 8 มกราคม 2546 ไม่เกิน 173,702,473.13 บาท ซึ่งต้องมีกำลังผลิตไก่เนื้อปีละประมาณ 5,650,000 ตัวบริษัทฯ ได้ใช้สิทธิตามบัตร 3 ที่สาขาลพบุรี บัตร 4 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตอาหารสัตว์ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของ เงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการไม่เกิน 112,000,000 บาท แต่บริษัทฯ ยังมิได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เนื่องจากอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตร 1 บัตร 2 และบัตร 3 รวมเป็น จำนวนทั้งสิ้น 5,230,803.57 บาท มีกำไรสุทธิจากกิจการที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตรา ปกติมีกำหนด 5 ปีนับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตร 1 จำนวน 3,012,095.47 บาท และมีกำไร สุทธิจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติจำนวน 59,965,437.38 บาท บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของกิจการที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ รวมกับ กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติ บริษัทฯ ขอหารือว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ดังกล่าว บริษัทฯ สามารถนำผลขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออก จากกำไรสุทธิของกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติก่อน หากยังมีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ บริษัทฯ จึงนำไป หักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ ทั้งนี้ ตามข้อ 3 และข้อ 4 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ได้หรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง-แนววินิจฉัยกรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากกว่า 1 บัตร ต่อมา เมื่อบางบัตรพ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ยังคงได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้บริษัทฯ มีทั้งบัตร ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน และบัตรที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จาก การลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตรา ร้อยละ 50 ของอัตราปกติก่อน และหากบริษัทฯ ยังมีผลขาดทุนประจำปีของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเหลืออยู่อีก จึงจะมีสิทธินำไปหักออกจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา ปกติ ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 1/2550 ลงวันที่ 5 กันยายน 2550 ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหัก ภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702(กม.10)/1485 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 |