Skip to Content

BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการบริการชุบเคลือบผิวโลหะด้วยสังกะสี ประเภท

การชุบเคลือบผิวโลหะ และพลาสติกโดยได้รับสิทธิประโยชน์ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ

ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดระยะเวลา 8 ปี นับแต่วัน

เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น ในการให้บริการชุบเคลือบผิวโลหะด้วยสังกะสี ผู้รับบริการได้หัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าจ้าง

บริษัทฯ ขอทราบเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย

1. เมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินจากการให้บริการดังกล่าว บริษัท ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย บริษัทตามปกติ และเมื่อสิ้นปีบัญชีจึงรวบรวมเรื่องขอคืนภาษีในภายหลัง หรือ

2. การที่บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีผล

ให้ผู้รับบริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด และในการนี้บริษัทฯ จะมอบเอกสารให้

กับผู้รับบริการเพื่อแสดงว่า บริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 27 ตรี, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ให้ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 8 ปี

นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน

พ.ศ. 2520 มีผลทำให้บริษัทฯ ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง

ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม

โดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา

ที่บริษัทฯ ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมที่บริษัทฯ ได้รับ โดยบริษัทฯ ต้องถ่ายสำเนาบัตร

ส่งเสริมให้ผู้ว่าจ้างเพื่อแสดงว่าบริษัทฯ ได้รับสิทธิและประโยชน์ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับการประกอบกิจการดังกล่าวด้วย

2. กรณีบริษัทฯ ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้ว เมื่อบริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษี

เงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการ

ภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/01604 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)