BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผล
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนออกให้ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2530 ซึ่งในบัตรส่งเสริมระบุว่าให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 7 ปี ปัจจุบันสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลในบัตรดังกล่าวได้หมดไปแล้ว ต่อมาในปี 2541 บริษัทฯ ได้ รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มอีก 1 บัตรลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ซึ่งในบัตรส่งเสริมระบุว่าได้รับ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี และประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเป็นกิจการ เดียวกันกับบัตรส่งเสริมฉบับแรก บริษัทฯ จึงหารือว่า ถ้าบริษัทฯ จะจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมของ บัตรส่งเสริมฉบับเดิม ผู้รับเงินปันผลดังกล่าวจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 34, พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520แนววินิจฉัยเงินปันผลที่ผู้รับเงินปันผลได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับ ยกเว้นเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 จะได้รับ ยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ ต่อเมื่อเงินปันผลดังกล่าวจ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และจะต้องเป็น เงินปันผลที่ผู้ได้รับการส่งเสริมจ่ายและผู้รับเงินปันผลได้รับในระหว่างระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้ รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่องการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ดังนั้น กรณีที่บริษัทฯ ประสงค์จะนำกำไรสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนฉบับเดิม มาจ่ายเป็นเงินปันผลให้ปีอื่น ๆ ที่มิใช่ระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมฉบับดังกล่าว เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทฯ ในกรณีดังกล่าวย่อมไม่ได้ รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และผู้รับเงิน ปันผลจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/5834 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2543 |