BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินปันผลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินปันผลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นเวลา 7 ปี เริ่มมีรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ถึงเดือนมกราคม 2547 ในรอบระยะเวลาบัญชี 1/1/2546 - 31/12/2546 บริษัทฯ มีกำไรที่ได้รับการ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 1421/2539 ซึ่งบริษัทฯ ประกาศจ่าย เงินปันผลจากกำไรของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เป็นจำนวนเงิน 5,100,000.00 บาท เนื่องจากบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลจากกำไร ของปี 1/1/2546 - 31/12/2546 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ จึงสามารถ จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นซึ่งอยู่ในประเทศญี่ปุ่นโดยไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ถูกต้อง ใช่หรือไม่ กำไรขาดทุนตามแบบ ภ.ง.ด.50 ปี 2546 ปี พ.ศ. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ 2540 - 15,055,879.53 - - 2541 9,030,806.67 - - - 2542 9,487,063.61 - - - 2543 16,318,212.79 - - - 2544 21,722,213.25 - 3,358,495.60 - 2545 29,753,707.49 - 1,313,369.25 - 10,384,014.68 (1) ปี 2544 และปี 2545 บริษัทฯ ต้องเสียภาษีจากกำไร 3,358,495.60 บาท และ 1,313,369.25 บาท หรือไม่ (2) ปี 2547 บริษัทฯ สามารถนำผลขาดทุน 10,384,014.68 บาท ไปใช้ได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 70แนววินิจฉัย1. ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ผู้รับเงินปันผลจาก บริษัทฯ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น และจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จะต้องเป็น เงินปันผลที่ผู้ได้รับการส่งเสริมจ่าย และผู้รับเงินปันผลได้รับในระหว่างระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริม ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามข้อ 5 และข้อ 6 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมในรอบระยะเวลาบัญชี 1/1/2546 - 31/12/2546 ซึ่งเป็นรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน แต่ได้จ่าย เงินปันผลดังกล่าวหลังจากวันที่พ้นระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ผู้รับเงินปันผล จากบริษัทฯ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลให้แก่ ผู้ถือหุ้นซึ่งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น จึงต้องหักภาษีและนำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร 2. กำไรจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปี 2544 และปี 2545 จำนวน 4,671,864.85 บาท (3,358,495.60 1,313,369.25) บริษัทฯ มีสิทธินำผลขาดทุนจากกิจการที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ในปี 2540 จำนวน 15,055,879.53 บาท มาหักเป็นรายจ่ายได้ ทำให้ยังคงขาดทุน 10,384,014.68 บาท จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด 3. ผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2545 ที่เหลืออยู่จำนวน 10,384,014.68 บาท บริษัทฯ มีสิทธินำไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจาก กำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/8939 ลงวันที่ 28 กันยายน 2547 |