Skip to Content

BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน


ข้อเท็จจริง

บริษัท ท. จดทะเบียนเป็นผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียม 2 ชิ้นพร้อมฝา ได้รับการ

ส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ เริ่มมีรายได้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2540 ได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาเจ็ดปี

นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้น ไปหัก

ออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี

นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้

ในการประกอบกิจการ นับแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทมาจนสิ้นสุดงวดบัญชีปี พ.ศ. 2545 นั้น บริษัทฯ

มีผลการดำเนินงานดังนี้

หน่วย บาท

รอบระยะเวลาบัญชี กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ รวมกำไร

กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ (ขาดทุน) สุทธิ

ผลดำเนินจริง

1 ม.ค.39-31 ธ.ค.39 24,009,973 (24,009,973)

1 ม.ค.40-31 ธ.ค.40 702,657,975 38,179,173 (740,837,148)

1 ม.ค.41-31 ธ.ค.41 268,291,804 21,342 68,270,462

1 ม.ค.42-31 ธ.ค.42 140,556,652 2,843,810 (137,712,842)

1 ม.ค.43-31 ธ.ค.43 112,184,824 9,990,622 (102,194,340)

1 ม.ค.44-31 ธ.ค.44 44,114,824 704,503 (44,819,327)

1 ม.ค.45-31 ธ.ค.45 149,095,201 10,557,581 159,652,782

รวม 417,387,005 999,514,413 23,392,013 62,914,991 (621,650,386)

บริษัทฯ จึงหารือว่า ผลขาดทุนสุทธิที่จะยกไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของ

รอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เป็นจำนวนเท่าใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (12)

แนววินิจฉัย

1. การคำนวณรายจ่ายผลขาดทุนของกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต้องเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องดำเนินการตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีที่กิจการที่

ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไรสุทธิต้องนำขาดทุนประจำปีสะสมยกมาจากปีก่อนของกิจการที่

ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมาหักก่อน ทั้งนี้ ตามข้อ 4.2(ข) ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง

การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530

ดังนั้น ผลขาดทุนของปี 2539 จำนวน 24,009,973 บาท จึงมีสิทธินำไปหักกำไรในปี 2542

จำนวน 2,843,810 บาท และปี 2543 จำนวน 9,990,662 บาทได้ คงเหลือขาดทุนอีกจำนวน

11,175,540 บาท แต่ไม่มีสิทธินำไปหักจากกำไรของปี 2545 ได้ เพราะเกิน 5 ปีก่อน

รอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับผลขาดทุนของปี 2540 2541 และ 2544 จำนวน 38,905,018 บาท

(38,179,173 21,342 704,503) มีสิทธินำไปหักจากกำไรในปี 2545 ได้

2. การคำนวณผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

โดยไม่ต้องนำไปหักออกจากกำไรประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไป

ใช้ในปี 2545 ได้ทั้งจำนวนดังนั้น ผลขาดทุนของปี 2540 2542 2543 และ 2544 จำนวน

999,514,413 บาทจึงมีสิทธิยกไปใช้ในปี 2545 ได้ทั้งจำนวน ตาม

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 ฯสรุปผลขาดทุนที่มีสิทธิยกไปหักจากกำไรสุทธิ

ที่ต้องเสียภาษีในปี 2545 ได้จำนวนทั้งสิ้น 1,038,419,431 บาท (38,905,018 999,514,413)




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/12160 ลงวันที่ 02 ธันวาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)