Skip to Content

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2543 การยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 10

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 374)
พ.ศ. 2543
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
เป็นปีที่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน


                      
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

                      
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

                      
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                      
มาตรา  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2543

                      
มาตรา  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                      
มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (33) ของมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 372) พ.ศ. 2542

                            “(33) อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับ นี้ คือ เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวน การอนุญาโตตุลาการ ในประเทศไทย ประกอบกับเพื่อให้เป็น แนวทางเดียวกับทางปฏิบัติของนานา อารยประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 105 ก วันที่ 15 พฤศจิกายน 2543)

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)