Skip to Content

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ยกเว้นภาษีอากรแก่บุคคลตามสัญญาการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18)
พ.ศ. 2505
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน


                    
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

                    
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้น การเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้ หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ

                    
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                    
มาตรา  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505

                    
มาตรา  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                    
มาตรา  ให้ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญา ว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ

                    
มาตรา  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ส. ธนะรัตน์

         นายกรัฐมนตรี


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- ประเทศที่รัฐบาลไทยได้ทำสัญญาไว้แล้ว คือ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐ อิสลามปากีสถาน ประเทศออสเตรเลีย.ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก สหพันสาธารณรัฐเยอรมัน สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประเทศอิตาลี สหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ประเทศโปแลนด์ ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐฟินแลนด์สาธารณรัฐออสเตรีย สาธารณรัฐประชาชนฮังการี

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)