พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 491) พ.ศ. 2552 การยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 10
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 491) พ.ศ. 2552 ---------------------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นปีที่ 64 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 491) พ.ศ. 2552” มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (40) ของมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝากซึ่งจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มีกิจกรรมบางอย่างอยู่ในบังคับต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากในการคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน และในการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน สมควรยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ (ร.จ.ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 126 ตอนที่ 67 ก วันที่ 8 กันยายน 2552) |