โอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดราคาโอนหุ้น
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดราคาโอนหุ้นข้อเท็จจริง1. บริษัท A. เป็นบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และถือหุ้นร้อยละ 99.99 ใน บริษัท B. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ S โดยบริษัท B. ถือหุ้นร้อยละ 95 ใน บริษัท C ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ I และบริษัท C. ถือหุ้นร้อยละ 77.60 ใน บริษัท D. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ I และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศ I อีกทอดหนึ่ง 2. บริษัท A. มีความประสงค์จะปรับโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ โดยจะโอนหุ้นทั้งหมด ใน บริษัท B. ให้แก่บริษัท E. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีบริษัท A. เป็น ผู้ถือหุ้นทั้งหมด 3. บริษัท A. ได้หารือว่า ในการโอนหุ้นของบริษัท B. ให้กับ บริษัท E. ดังกล่าว บริษัท A. จะใช้ราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Book Value) ของบริษัท B. ซึ่งคำนวณโดยนำ ทรัพย์สินที่มีอยู่ตามงบการเงิน หักด้วยหนี้สิน แล้วหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดเป็นราคาโอน หุ้นของบริษัท B. ได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณีบริษัท A. โอนหุ้นของบริษัท B. ให้กับบริษัท E. นั้น บริษัท A. จะต้องใช้ ราคาตลาดของหุ้น บริษัท B. เป็นราคาโอน หากราคาโอนหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินราคาโอนตามราคาตลาดได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณี บริษัท B. ถือหุ้นร้อยละ 95 ใน บริษัท C. และบริษัท C. ถือหุ้นร้อยละ 77.6 ในบริษัท D. โดยบริษัท D. เป็นบริษัทซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศIและ มีราคาซื้อขายหุ้นปรากฏอย่างชัดแจ้งในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ดังนั้น แม้ว่างบการเงิน ของบริษัท C. จะไม่ได้ถูกปรับปรุงให้สะท้อนราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้นบริษัท D. และ งบการเงินของบริษัท B. จะไม่ได้ถูกปรับปรุงให้สะท้อนราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้นบริษัท C. ก็ตาม กรณีดังกล่าว ถือได้ว่าบริษัท A. สามารถคำนวณราคาตลาดของหุ้นบริษัท D. หุ้น บริษัท C. และหุ้นบริษัท B. ตามลำดับ ได้อย่างชัดแจ้ง ฉะนั้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ ประเมินโดยใช้ราคาที่ได้จากการคำนวณดังกล่าว เป็นราคาตลาดของการโอนหุ้นของบริษัท B. ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5326 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2551 |