Skip to Content

แหล่งเงินได้/อนุสัญญาภาษีซ้อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ของครูชาวต่างประเทศที่เข้ามาสอนในประเทศไทย

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ของครูชาวต่างประเทศที่เข้ามาสอนในประเทศไทย


ข้อเท็จจริง

กรณีเงินได้ของครูชาวต่างชาติที่เข้ามาสอนในประเทศไทยโดยมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันแรกที่ได้เดินทางเข้า มาในประเทศไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนหนังสือและจะต้องไม่มีเจตนาใดๆ ที่จะอยู่ในประเทศไทยเพื่อจุดประสงค์ ในการสอนหนังสือเกินกว่าระยะเวลานี้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ ตามข้อ 23 แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่ง สหรัฐอเมริกา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ประกอบกับ มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 อย่างไรก็ตาม หากครูชาวต่างชาติดังกล่าวมีความประสงค์จะสอนต่อไปในประเทศไทยหลังจากระยะเวลา 2 ปีสิ้นสุดลงแล้ว ถือว่ามีเจตนาที่จะอยู่เกินกว่าระยะเวลา 2 ปี ครูชาวต่างชาติดังกล่าวจึงต้องนำเงินได้ทั้งหมดจากการสอนในระยะเวลา 2 ปี แรกมาคำนวณเพื่อเสียภาษีในประเทศไทยด้วย โดยไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทยแต่อย่างใด

โรงเรียนนานาชาติฯ จึงหารือว่า กรณีเงินได้ของครูชาวต่างชาติที่ได้รับยกเว้น 2 ปีแรก และถ้ายังคงสอนต่อไป ในประเทศไทย จะต้องนำเงินได้ทั้งหมดจากการสอนในระยะเวลา 2 ปีแรก มาคำนวณเพื่อเสียภาษีด้วยหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(1) ข้อ 23 อนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-อเมริกา

แนววินิจฉัย

กรณีเงินได้ของครูชาวต่างชาติที่เข้ามาสอนในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันแรกที่ได้เดินทางเข้า มาในประเทศไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนหนังสือและจะต้องไม่มีเจตนาใดๆ ที่จะอยู่ในประเทศไทยเพื่อจุดประสงค์ในการ สอนหนังสือเกินกว่าระยะเวลานี้ ค่าจ้างสอนที่ครูชาวต่างชาติได้รับในช่วงระยะเวลา 2 ปี ถือเป็นเงินได้เงินพึงประเมินตาม มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย และหากครูชาวต่างชาติดังกล่าว มีความประสงค์จะสอนต่อไปในประเทศไทยหลังจากระยะเวลา 2 ปีสิ้นสุดลงแล้ว ถือว่ามีเจตนาที่จะอยู่เกินกว่าระยะเวลา 2 ปี ครูชาวต่างชาติดังกล่าวจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดจากการสอนในระยะเวลา 2 ปีแรกมาคำนวณเพื่อเสียภาษีในประเทศไทยด้วย โดยไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทยแต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5498 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2554

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)