Skip to Content

แหล่งเงินได้/อนุสัญญาภาษีซ้อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขอยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขอยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน


ข้อเท็จจริง

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้ว่าจ้าง Dr. M. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อมาทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย มีกำหนดระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2549 การเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวของ Dr. M. เป็นไปตามเงื่อนไขและสอดคล้องกับข้อ 19 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนมหาวิทยาลัยฯ จึงขอความอนุเคราะห์ได้โปรดพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2548 และ 2549 ของ Dr. M. ตามความตกลงดังกล่าวด้วย


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎษกร และตามอนุสัญญาภาษีซ้อนไทยกัลป์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

แนววินิจฉัย

บทบัญญัติข้อ 19 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณ-รัฐเยอรมันเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ได้กำหนดให้การยกเว้นภาษีเงินได้แก่ ครู อาจารย์ชาวเยอรมันที่เข้ามาในประเทศไทย เพื่อความมุ่งประสงค์เฉพาะในการทำการสอนในมหาวิทยาลัยฯ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ("solely for the purpose of teaching...") มิได้รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ อันนอกเหนือไปจากการสอน ที่ครู อาจารย์ผู้นั้นมีข้อผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัย ผู้ว่าจ้างด้วย จากข้อเท็จจริงปรากฏว่านอกจาก Dr. M. จะมีหน้าที่ในการสอนหนังสือให้กับทางมหาวิทยาลัยฯ แล้ว ยังมีหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดวางแนวทางหลักสูตรการศึกษา การทำวิจัย รวมทั้งการจัดสัมมนา และการฝึกอบรมต่าง ๆ ตลอดจนการสนับสนุนให้คำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างและเอกสารแนบท้ายสัญญาด้วย ดังนั้น กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขตามบทบัญญัติข้อ 19 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ที่จะพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าตอบแทนในการสอนแก่บุคคลดังกล่าวได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/3197 ลงวันที่ 18 เมษายน 2549

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)