แหล่งเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการส่งพนักงานไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการส่งพนักงานไปปฏิบัติงานในต่างประเทศข้อเท็จจริงบริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ได้ส่งพนักงานของบริษัทฯ ไปปฏิบัติงานที่ บริษัทร่วมทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทร่วมทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 โดยพนักงานที่บริษัทฯ ส่งไปปฏิบัติงานในต่างประเทศจะได้รับเงินเดือนที่จ่ายจากบริษัทฯ ใน ประเทศไทยตามปกติส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะได้รับจากบริษัทร่วมทุนในต่างประเทศ บริษัทฯ หารือว่า ในส่วนเงินเดือนที่บริษัทฯ จ่ายให้กับพนักงานในประเทศไทยขณะที่พนักงานปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศช่วง เวลาดังกล่าว พนักงานต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ และบริษัทฯ มี หน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(1)แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ ซึ่งเป็นนายจ้างในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินได้ตาม มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศโดยตรง เข้า ลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย พนักงานหรือลูกจ้างดังกล่าวเป็น ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่ง เป็นผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/2215 ลงวันที่ 08 มีนาคม 2544 |