แหล่งเงินได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีแปลงหนี้เป็นทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีแปลงหนี้เป็นทุนข้อเท็จจริง1. บริษัท อ. และกลุ่มบริษัทในเครือได้เข้าสู่ระบบการฟื้นฟูกิจการภายใต้พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 โดยตั้งให้ บริษัท ฟ. เป็นผู้ทำแผน และศาลได้ให้ความเห็นชอบด้วยแผนฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ภายใต้ แผนฯ กำหนดให้ดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 756 ล้านเหรียญสหรัฐ จะถูกแปลงเป็นทุนของบริษัทฯ ร้อยละ 75 (จำนวน 5,850 ล้าน หุ้น) ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ (ส่วนทุนเจ้าหนี้) การแปลงหนี้เป็นทุนดังกล่าวถือเสมือนเป็นการ ชำระดอกเบี้ยค้างชำระแก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ภายใต้แผนฯ ดังกล่าวกำหนด ให้บริษัทฯ เป็นผู้รับภาระภาษีที่เกิดขึ้นจากการชำระหนี้ใด ๆ ในการแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อชำระดอกเบี้ย ค้างชำระ บริษัทฯ จึงหารือว่า การแปลงหนี้เป็นทุนดังกล่าวถือเป็นการโอนทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เจ้าหนี้ ต่างประเทศมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 ใช่หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(4), มาตรา 40 วรรคหนึ่ง, มาตรา 40 วรรคสองแนววินิจฉัย1. ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการ โอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการดำเนินการ ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้ว การที่บริษัท อ. และกลุ่มบริษัทในเครือ ลูกหนี้ ได้เข้าสู่แผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ลูกหนี้ ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบ ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายแล้ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 ตามแผน ฟื้นฟูกิจการกำหนดให้แปลงหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระ จำนวน 756 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นทุนของบริษัทฯ ลูกหนี้ จำนวน 5,850 ล้านหุ้น เพื่อโอนให้แก่เจ้าหนี้ ตามแผนฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้มิได้มีการโอนทรัพย์สิน ขายสินค้าหรือให้บริการแก่บริษัทฯ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 2. การแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ ถือว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระดอกเบี้ย จำนวน 756 ล้านเหรียญสหรัฐ จากบริษัทฯ ลูกหนี้แล้ว เงินดอกเบี้ยเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร และตามแผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้บริษัทฯ ลูกหนี้รับภาระภาษีจากการชำระหนี้ใด ๆ ใน การแปลงหนี้แทนเจ้าหนี้ เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ลูกหนี้ ออกแทนให้เจ้าหนี้ไม่ว่าทอดใด ถือเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินได้ในปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ ออกแทนให้นั้นตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ตาม แผนฟื้นฟูกิจการเป็นนิติบุคคลต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ เจ้าหนี้นั้นต้องเสีย ภาษี บริษัทฯ ลูกหนี้ ในฐานะผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยและค่า ภาษีอากรที่ออกแทนให้เจ้าหนี้ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนำส่ง กรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ตามมาตรา 70 แห่ง ประมวลรัษฎากร 3. กรณีบริษัทฯ ลูกหนี้ หากได้รับเงินได้จากการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอ ประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ลูกหนี้ ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย บริษัทฯ ลูกหนี้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706(กม.02)/406 ลงวันที่ 18 เมษายน 2546 |