Skip to Content

แปลงเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลต่างที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลต่างที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา


ข้อเท็จจริง

ธนาคารต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นกิจการวิเทศธนกิจโดยตั้งเป็นสาขา

วิเทศธนกิจในประเทศไทย การรับฝากเงินตราของธนาคารนั้นจะรับฝากเป็นเงินตราต่างประเทศ

ธนาคารมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกเริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2540 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2540 และ

รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปสิ้นสุด วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี

ธนาคารฯ ได้เปิดดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ได้นำเงินเข้ามาเพื่อเป็น

เงินทุนของธนาคารโดยนำเข้ามาเป็นเงินตราเหรียญดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 20,000,000 ซึ่ง

อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้นเงินตราต่างประเทศประมาณ 25.75 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้บันทึก

เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ต่อมา ณ วันสิ้นรอบบัญชีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นประมาณ 40.914 บาท ต่อหนึ่ง

ดอลลาร์สหรัฐ

มีความเข้าใจว่า กิจการวิเทศธนกิจของธนาคารสามารถบันทึกบัญชีเป็นดอลลาร์สหรัฐหรือ

เงินบาทก็ได้ หากต่อมา ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีอัตราแลกเปลี่ยนได้เปลี่ยนแปลงไปจาก ณ วันที่

ธนาคารได้นำเงินทุนเข้ามา ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดรายได้และ

ค่าใช้จ่ายเนื่องจากบัญชีหลัก (Main Book) ของกิจการวิเทศธนกิจซึ่งได้บันทึกเป็นดอลลาร์สหรัฐ

เนื่องจาก

1. กรณีที่ธนาคารฯ บันทึกบัญชีเป็นดอลลาร์สหรัฐ แม้จะมีการแปลงค่าเงินทุนเป็นเงินบาท

ในงบการเงิน ธนาคารจะไม่มีกำไรขาดทุนจากผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน

2. หากธนาคารฯ บันทึกบัญชีเป็นเงินบาท โดยแปลงค่าเงินทุนที่นำเข้าด้วย

อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนำเข้า แต่ในด้านเงินทุนนั้นธนาคารยังถือเงินตราต่างประเทศอยู่ และเมื่อสิ้น

รอบระยะเวลาบัญชี ธนาคารจะแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ ทั้งทางด้านสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของ

ธนาคาร โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยทุนนั้นธนาคารถือว่าเป็นเงินตรา

ต่างประเทศที่ธนาคารถืออยู่ การแปลงค่านี้จะทำให้ไม่มีกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนคือเป็นการแปลง

ค่าเงินตราต่างประเทศที่เป็นทุนแปลงค่าทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมกัน

จึงขอทราบว่า ความเข้าใจของธนาคารดังกล่าวถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540ฯ

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริง ธนาคารฯ มีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็น

เงินตราต่างประเทศเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา

ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์

ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ผลของการคำนวณ ถ้ามีผลกำไรหรือขาดทุนจากการคำนวณค่า

หรือราคาดังกล่าว ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้หรือรายจ่ายแล้วแต่กรณี ในรอบระยะเวลาบัญชี

ดังกล่าวได้ทั้งจำนวน ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของ

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายของ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 24

กรกฎาคม พ.ศ. 2540

ดังนั้น ธนาคารฯ จึงไม่มีสิทธิที่จะไม่ปรับปรุงผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ

วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีแต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/13128 ลงวันที่ 08 กันยายน 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)