Skip to Content

เงินได้/รายได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน


ข้อเท็จจริง

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติในการเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีที่มีผู้

น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นสถานที่ทดลองส่วนหนึ่งของโครงการ

ส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ว่า ในการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องเรียกเก็บ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 39, มาตรา 41 ทวิ, มาตรา 50 (5), มาตรา 65 ทวิ (4), มาตรา 69 ตรี

แนววินิจฉัย

1. กรณีผู้โอนเป็นบุคคลธรรมดา การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่กัน

โดยไม่มีค่าตอบแทน ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าผู้โอนเป็น

ผู้มีเงินได้และมีหน้าที่ต้องนำเงินได้จากการโอนดังกล่าว ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามมาตรา 41 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้ ตามมาตรา 50 (6)

แห่งประมวลรัษฎากร ผู้โอนจึงมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่ง

ประมวลรัษฎากร โดยคำนวณภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ

มาตรา 48 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีผู้โอนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยหลักการ การโอนกรรมสิทธิ์หรือ

สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยไม่มีค่าตอบแทน ถือเป็นการโอน

โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ตามราคาตลาดในวันที่โอนตาม

มาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร และตามมาตรา 50 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่า "

ผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้" (ตามมาตรา 69 ตรี ให้นำมาใช้โดยอนุโลม) ดังนั้น กรณีการโอนกรรมสิทธิ์

หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงานที่ดินในฐานะ

เจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอน และ

ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 โดยถือว่า ผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน

ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

แต่สำหรับกรณีการน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็น

สถานที่ทดลองส่วนหนึ่งของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นโครงการเพื่อ

สาธารณประโยชน์ ดังนั้น การน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงถือว่าเป็นกรณีที่

มีเหตุอันสมควร ที่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจประเมิน ตามราคาตลาดในวันที่โอน ตามมาตรา 65

ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้

ดังนั้น กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล น้อมเกล้าถวายที่ดินดังกล่าว จึงไม่มีกรณีต้องหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/12361 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)