Skip to Content

เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีประกอบกิจการตัวแทนประกันชีวิต

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีประกอบกิจการตัวแทนประกันชีวิต


ข้อเท็จจริง

นาย ศ. เป็นตัวแทนการขายประกันชีวิตของบริษัท อ. นาย ศ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตั้งแต่ปี 2539 แต่ในปัจจุบัน นาย ศ. มีความประสงค์ที่จะขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนาย ศ. จึงขอ

ทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และ

ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.

2545 ดังนี้

1. กรณีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 2.1(2) ของข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 ฯ

ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2545 ครบถ้วนแล้ว แต่มีรายได้ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี จะ

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควรได้หรือไม่ ซึ่งมาตรา

81/1 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดว่าผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายได้

ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. นาย ศ. ไม่มีสิทธิแจ้งขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ยินยอมโดย

อ้างสาเหตุว่านาย ศ. ค้างชำระภาษีอากร กรณีดังกล่าวมีวิธีใดที่จะขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(2)

แนววินิจฉัย

1. กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทประกันชีวิตหรือ

บุคคลใด ๆ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี

กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนมีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าได้

ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจ และสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ ซึ่งต้องมี

ลักษณะการประกอบกิจการตาม 2.1(2)(ก) - (ฉ) ของข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.

115/2545 ฯ ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2545 ค่าตอบแทนที่ได้รับดังกล่าวเข้าลักษณะเป็น

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากนาย ศ. ซึ่งเป็นตัวแทนหรือ

นายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตได้ขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และอธิบดีได้มีคำสั่ง

ถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ค่าตอบแทนที่ นาย ศ. ได้รับ

จากบริษัทประกันชีวิตหรือบุคคลใด ๆ จะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตาม 2.1(1) ของข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 ฯ ลงวันที่

17 กันยายน พ.ศ. 2545

2. กรณี นาย ศ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่ปี 2539 ต่อมามีรายได้ไม่เกิน

1,200,000 บาทต่อปี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีก่อนการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมี

ความประสงค์ที่จะขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็มีสิทธิขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตาม

มาตรา 85/10(1) แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/8346 ลงวันที่ 08 กันยายน 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)