Skip to Content

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาษีที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยอุบัติเหตุ

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาษีที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยอุบัติเหตุ


ข้อเท็จจริง

บริษัท ก. ในฐานะผู้บริหารโครงการ (ผู้บริหารโครงการ) และบริษัทประกันวินาศภัยและ

บริษัทประกันชีวิตจำนวน 50 บริษัท (บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ) ร่วมกันจัดทำโครงการประกันภัย

อุบัติเหตุ ข. เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือตกเป็นผู้ทุพพลภาพถาวร

ด้วยการจ่ายเงินค่าทดแทนจำนวน 300,000 บาท และหากผู้เอาประกันภัยและคู่สมรสที่ถูกต้องตาม

กฎหมายเสียชีวิตหรือตกเป็นผู้ทุพพลภาพถาวรทั้งสองคนในอุบัติเหตุคราวเดียวกัน กรมธรรม์

ประกันอุบัติเหตุ ข. จะมอบเงินค่าทดแทนเพิ่มเป็นพิเศษให้ผู้เอาประกันภัยอีก 100,000 บาท โดย

ผู้เอาประกันภัยต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 365 บาท (รวมภาษีและอากร) ผู้บริหารโครงการจึงขอ

ทราบแนวทางปฏิบัติในการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ

อากรแสตมป์ของผู้ที่เกี่ยวข้องและบริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ ดังนี้

1. นาย A และบริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ เป็นผู้รับดำเนินการในการหา

ผู้เอาประกันภัย รับฝากและรวบรวมเงินเบี้ยประกันภัยมานำส่งไว้ที่ผู้บริหารโครงการ ซึ่งนาย A และ

บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าว เงินค่าใช้จ่าย

ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่ และต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร หากนาย A มีภาระ

ภาษีที่ต้องชำระ ขอให้ผู้บริหารโครงการฯ เป็นผู้รวบรวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งหมด นำส่งแก่กรมสรรพากร

ในนามของกรมการปกครองแทนการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายบุคคลได้หรือไม่

2. นาย A บริษัทรับประกันภัยและสาขามีหน้าที่รับฝากเงินเพื่อส่งต่อให้ผู้บริหารโครงการและ

ผู้บริหารโครงการมีหน้าที่รวบรวมและกระจายเงินให้บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯบริษัทรับประกันภัย

จะบันทึกการรับประกันภัยและรับรู้รายได้เบี้ยประกันภัยรับโดยตรง เมื่อได้รับข้อมูลจากผู้บริหารโครงการฯ

จึงขอให้บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและ

อากรแสตมป์ด้วยตนเองตามสัดส่วนที่ได้รับประกันภัย


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(2), มาตรา 48(1), มาตรา 50(1), มาตรา 91/2(3), มาตรา 91/5(3)

แนววินิจฉัย

1. กรณี นาย A ได้รับเงินค่าตอบแทนจากการดำเนินงานในการติดต่อให้ประชาชนเข้ามาทำ

ประกันภัยอุบัติเหตุ ข. เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่ง

ประมวลรัษฎากร บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา

50(1) แห่งประมวลรัษฎากร หากการจ่ายค่าตอบแทน ดังกล่าว ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะ

ต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงิน

ภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีกให้นำค่าตอบแทน

ที่จ่ายในครั้งแรก มารวมกับค่าตอบแทนที่จ่ายในครั้งที่สองแล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1)

แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้า

ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหัก

เป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายค่าตอบแทนในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตาม

วิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

ส่วนบริษัทรับประกันภัยซึ่งได้รับเงินค่าตอบแทนจากการดำเนินงานในการ ติดต่อให้ประชาชน

เข้ามาทำประกันภัยอุบัติเหตุ ข. เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่ง

ประมวลรัษฎากร บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ

3.0 ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม

มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว บริษัทผู้รับประกันภัยใน

โครงการฯ สามารถจัดทำสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้ผู้บริหารโครงการ เป็นตัวแทนใน

การดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และชำระ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนบริษัทผู้รับประกันภัยในโครงการฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้

2. รายได้ค่าเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุ ข. เป็นรายรับซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ตามมาตรา 91/2(3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยฐานภาษีสำหรับกิจการรับประกันชีวิตได้แก่ ดอกเบี้ย

ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ ตามมาตรา 91/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อรายรับค่า

เบี้ยประกันภัยไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับกิจการรับประกันชีวิตตามมาตรา 91/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ จึงไม่ต้องนำรายได้ค่าเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุ ข.มานำส่ง

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

สำหรับอากรแสตมป์ โครงการฯ ได้มีการจัดทำกรมธรรม์หลักขึ้นมา 1 ฉบับลงนามโดยบริษัท

รับประกันภัยในโครงการฯ 50 บริษัท จัดเก็บไว้ที่ผู้บริหารโครงการ ซึ่งกรมธรรม์หลักจะไม่แสดงจำนวน

เบี้ยประกันภัยที่รับประกันภัยในแต่ละงวด แต่บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ แต่ละบริษัทจะมีการจัดทำ

กรมธรรม์เพื่อบันทึกการรับประกันภัยรวมถึงรับรู้รายได้เบี้ยประกันภัย เมื่อได้รับแจ้งข้อมูลเบี้ยประกันภัยที่

ผู้บริหารโครงการแจ้งให้ทราบเป็นรายไตรมาส ดังนั้น บริษัทรับประกันภัยในโครงการฯ มีหน้าที่ต้องเสีย

อากรแสตมป์เมื่อถึงกำหนดต้องรับรู้รายได้เบี้ยประกันภัยตามอัตราที่ระบุไว้ในตราสารลักษณะ 6.(ข)

แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2951 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)