Skip to Content

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)  ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินทดรองจ่าย

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินทดรองจ่าย


ข้อเท็จจริง

บริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทบริษัท ป. แจ้งว่า บริษัทฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น

ตามกฎหมายไทยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 โดยประกอบกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ บริการ

แยกก๊าซธรรมชาติ และบริการขนส่งทางท่อซึ่งผลผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และบริการอื่น ๆ ที่

เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินทดรองจ่าย

สรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนี้

1. ก่อนที่บริษัทฯ จะถูกจัดตั้งขึ้น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือบริษัทบริษัท ป. ใน

ปัจจุบันได้เข้าทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับกิจการของบริษัทฯ กับบริษัท B และบริษัท

K โดยตามสัญญาดังกล่าวบริษัท ป. มีฐานะเป็นผู้ว่าจ้าง และมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาให้กับ

B และ K ในนามของตนเองโดยตรง

2. เมื่อบริษัท ป. ชำระเงินค่าจ้างให้แก่ B และ K บริษัท ป. ได้ทำการหักภาษีเงินได้ ณ

ที่จ่ายในอัตราที่กฎหมายกำหนด โดย B และ K ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท ป. และ

ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของบริษัท ป. โดยบริษัท ป. ได้นำใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับมา

เป็นหลักฐานในการขอเครดิตภาษีตามปกติ

3. ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทฯ ขึ้นแล้วบริษัท ป. ได้เรียกเก็บเงินที่ได้จ่ายไปให้แก่ B และ

K จากบริษัทฯ โดยมิได้มีการเรียกเก็บส่วนต่างหรือค่าบริการใด ๆ เพิ่มเติมจากที่บริษัท ป.ได้จ่ายไป

จริง ทั้งนี้ ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มบริษัท ป. ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีในนาม

ของบริษัทฯ และในส่วนของภาษีหัก ณ ที่จ่าย บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่ต้องชำระให้

แก่บริษัท ป. โดยถือเป็นค่าบริการตามปกติ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ

แนววินิจฉัย

เนื่องจากตามข้อเท็จจริงข้างต้น สรุปข้อเท็จจริงได้ว่า

1. บริษัท ป. เป็นผู้ทำสัญญากับ B และ K ในนามของตนเองโดยตรง

2. เมื่อ บริษัท ป. จ่ายค่าบริการตามสัญญาบริษัท ป. ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในนาม B

และ K และบริษัทผู้รับจ้างทั้งสอง ก็ได้ออกใบกำกับภาษีในนามของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างตามสัญญา

ดังนั้น เมื่อได้มีการจัดตั้งบริษัทฯ ขึ้น และบริษัท ป. ได้เรียกเก็บเงินค่าจ้างที่บริษัท ป. จ่าย

ให้กับ B และ K คืนจากบริษัทฯ กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่การที่บริษัท ป. เรียกเก็บเงินทดรองจ่ายคืนจาก

บริษัทฯ หากแต่ถือว่าบริษัท ป. ให้บริการแก่บริษัทฯ อีกทอดหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้กับ

บริษัท ป. บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ

3 ของค่าจ้างตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ และบริษัท ป. มี

หน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับบริษัทฯ ตามมาตรา 77/2 มาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่ง

ประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/12169 ลงวันที่ 03 ธันวาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)