เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพข้อเท็จจริง1. นางสาว บ.ทำงานที่ธนาคาร ป. ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 และลาออก จากงานเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 รวมระยะเวลาทำงาน 2 ปี 19 วัน ต่อมานางสาว บ. เข้าทำงานที่ธนาคาร ล. เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 และได้โอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคาร ป. ไปด้วย และลาออกจากธนาคาร ล. เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2552 รวมระยะ เวลาทำงาน 3 ปี 21 วัน ในปีภาษี 2552 หลังจากนั้น ได้กลับไปทำงานที่ธนาคาร ป. ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 จนถึง ปัจจุบัน โดยมิได้โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคาร ล. (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ) ไปด้วย นางสาว บ. ขอรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ท. ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ และหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่นำเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ไปรวมกับเงินได้อื่น นางสาว บ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) แสดงเงินเดือน จำนวนเงิน 1,893,964.74 บาท และเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก งานประเภทเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ จำนวนเงิน 335,534.82 บาท จำนวนเงิน 335,534.82 บาท (ตามใบแนบ ภ.ง.ด.91) คำนวณแล้วมีภาษีคืนจำนวนเงิน 69,526.53 บาท 2. สท.กรุงเทพมหานคร แจ้งให้นางสาว บ. ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพิ่มเติม สำหรับภาษีปี 2552 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 โดยนำเงินเดือนจำนวนเงิน 1,893,964.74 บาท และเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพฯ จำนวนเงิน 335,534.82 บาท รวมเป็นเงินได้ทั้งสิ้น 2,229,449.56 บาท มาคำนวณภาษี มีภาษีชำระเพิ่มเติมจำนวนเงิน 21,697.84 บาท 3. ต่อมาวันที่ 14 มิถุนายน 2553 นางสาว บ. ยื่นคำร้องขอคืนภาษี (ค.10) สำหรับปีภาษี 2552 จำนวนเงิน 91,224.37 บาท (69,526.53 (ตาม 1) 21,697.84 (ตาม 2)) เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ จำนวนเงิน 335,534.82 บาท เลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากนับอายุ การทำงานต่อกันได้ สท.กรุงเทพมหานคร มีหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรดังกล่าว และนางสาว บ. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่คืนเงินต่อ สท. กรุงเทพมหานคร ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงนางสาว บ. ได้ลาออกจากธนาคาร ป. และเข้าทำงานกับ ธนาคาร ล. โดยทันทีอย่างต่อเนื่อง ได้โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปด้วย โดยธนาคาร ป. ไม่ได้จ่ายเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก งานให้แก่นางสาว บ. กรณีดังกล่าว เพื่อ วัตถุประสงค์ในการนับอายุการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ นางสาว บ. มีสิทธินับอายุการทำ งานที่อยู่กับธนาคาร ป. ต่อเนื่องรวมกับอายุการทำงานที่อยู่กับธนาคาร ล. ได้ ดังนั้น เมื่อนางสาว บ. ลาออกจากธนาคาร ล. และได้รับเงินที่ จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นางสาว บ. ย่อมมีสิทธิเลือกนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว ไปคำนวณเสียภาษีแยกต่าง หากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ( ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/8514 ลงวันที่ 26 กันยายน 2555 |