เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพข้อเท็จจริง1. ธนาคารฯ และบรรษัทเงินทุนได้ควบรวมกับ ธนาคาร T ทำให้ธนาคารฯ เลิกกิจการ นาย ศ. จึงเปลี่ยนโอนมาเป็นพนักงานของธนาคาร T และได้ออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารฯ ณ วันที่ควบรวม หลักทรัพย์จัดการกองทุน ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้จ่ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้แก่นาย ศ. จำนวน xxx บาท และหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ จำนวน xxx บาท พร้อมออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่าย ระบุว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินเดือนค่าจ้าง เงินที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน 2. นาย ศ. เห็นว่า เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว นาย ศ. มีสิทธิยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 โดยแยกคำนวณในใบแนบ เป็นกรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ และขอคืนภาษีที่ได้ชำระไว้เกินได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(1) และมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีนาย ศ. ทำงานเป็นพนักงานของธนาคารฯ เมื่อธนาคารฯ และบรรษัทเงินทุน ได้ควบรวมกิจการเข้ากับธนาคาร T โดยธนาคารฯ เลิกกิจการ นาย ศ. ได้โอนมาเป็นพนักงานของธนาคาร T และได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเหตุให้ไม่สามารถนับอายุการทำงานต่อในการคำนวณเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินได้ที่นาย ศ. ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ดังนั้น หากนาย ศ. มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี นาย ศ. ย่อมมีสิทธิเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/4723 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 |