เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินทดแทนที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินทดแทนที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ข้อเท็จจริง1. นาย ก. พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เขต 3 ภาคกลาง จังหวัด นครปฐม ได้รับอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยได้รับเงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ ตามประกาศคณะ กรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และ ตามข้อบังคับ กฟภ.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานใน กฟภ. พ.ศ. 2522 ใน ลักษณะเหมาจ่ายครั้งเดียว ในปี พ.ศ. 2553 จำนวนเงิน 798,538.41 บาท ปัจจุบันนาย ก. ยังเป็นพนักงานของ กฟภ. มิได้ถูกเลิกจ้าง แต่อย่างใด ขอทราบว่าเงินทดแทนที่ได้รับจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. คำว่า "ค่าชดเชย" มีความหมายตามกฎหมายดังต่อไปนี้ (1) ตามข้อ 4 ของประกาศคณะ กรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งออกตาม ความ ในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กำหนดว่า "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่ง นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ข้อ 59 กำหนดว่า การเลิกจ้าง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่น ใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่ไม่รวมถึง การพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง (2) ตามมาตรา 5 แห่งพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติว่า "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ดังนั้น ค่าชดเชยที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (51) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 จะต้องเป็นค่าชดเชยที่ได้รับเนื่องจากการถูกเลิกจ้าง แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง 2. กรณีนาย ก. พนักงาน กฟภ. ได้รับอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติหน้าที่ เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และได้รับเงินทดแทนกรณีทุพพลภาพจากอุบัติเหตุดังกล่าว ตามข้อ 12 (10) ของประกาศคณะกรรมการรัฐ วิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 จำนวน 798,538.41 บาท โดยที่ กฟภ. มิได้เลิกจ้างนาย ก. แต่ อย่างใดนั้น เงินทดแทนที่นาย ก. ได้รับ มิใช่เงินชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลง จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ตามข้อ 4 ของประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงไม่เข้าลักษณะเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่จะได้รับ ยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้ตามข้อ 2 (51) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 และข้อ 1 (ค) ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเงินได้ที่นาย ก. ได้รับดัง กล่าวเป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างสำหรับการประสบอันตราย เข้าลักษณะเป็นเงินทดแทน ตามข้อ 4 ของประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐ วิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จึงได้รับยก เว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5866 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 |