Skip to Content

เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และการขอคืนภาษี

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และการขอคืนภาษี


ข้อเท็จจริง

1. บุคคลธรรมดา นำเงินไปฝากธนาคาร ในการจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารผู้จ่ายจะหัก

ไว้ในอัตราร้อยละเท่าไร ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยต้องปฏิบัติเหมือนกันทุกแห่งหรือไม่และหากหักไว้ไม่

ครบถ้วนจะต้องรับผิดกรณีใดบ้าง

2. สามี-ภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทเงินเดือน และถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดง

รายการภาษีเงินได้ โดยฝ่ายภริยาได้รับเงินปันผลจากบริษัทอีกจำนวนหนึ่ง ในการยื่นแบบแสดงรายการ

เงินปันผลฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องนำไปยื่นแบบแสดงรายการ

3. การขอคืนภาษีอากร จะขอคืนได้ภายในระยะเวลาเท่าใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 27 ตรี, มาตรา 42, มาตรา 50(2)(ข), มาตรา 54, มาตรา 57 เบญจ

แนววินิจฉัย

1. กรณีบุคคลธรรมดา มีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ที่ไม่เข้าลักษณะเงินได้ที่ได้

รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (8) (19) และ (17) แห่งประมวลรัษฎากร

ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (11) (21) (22) (38) (46) ลงวันที่

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ให้ผู้จ่ายเงินได้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของ

เงินได้ ตามมาตรา 50 (2) (ข)แห่งประมวลรัษฎากร กรณีตามข้อเท็จจริงธนาคารผู้จ่าย

ดอกเบี้ยเงินฝากต้องปฏิบัติเหมือนกันทุกแห่ง โดยคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของ

ดอกเบี้ยทุกคราวที่จ่ายดอกเบี้ย และหากหักไว้ไม่ครบถ้วน ต้องรับผิดดังนี้

(1) ความรับผิดทางแพ่ง

(ก) ในกรณีที่ผู้จ่ายไม่ได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่

ถูกต้องผู้จ่ายและผู้มีเงินได้จะต้องรับผิดร่วมกันในจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่ง

หรือตามจำนวนที่นำส่งขาดไปแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 54 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร

(ข) ในกรณีที่ผู้จ่ายไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย แม้ต่อมาผู้มีเงินได้หรือผู้เสียภาษีได้นำ

เงินเสียภาษีไปชำระแล้วก็ตาม ผู้จ่ายซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอยู่

(ค) ในกรณีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ครบ หรือขาดจำนวน หรือไม่นำส่งเลย

หรือล่วงเลยเวลาที่กำหนด ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่ง

ประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบ หรือ

ขาดหรือไม่นำส่งหรือล่วงเลยเวลาที่กำหนด

(2) ความรับผิดทางอาญา

การไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องนำส่งเงินภาษี ผู้จ่ายเงินจึงยังคงมี

หน้าที่ยื่นรายการนำส่งภาษีตามปกติ หากไม่ยื่นรายการย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 แห่ง

ประมวลรัษฎากร มีความผิดตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000

บาท

2. ในการคำนวณภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่

ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิด

ในการยื่นรายการ และเสียภาษี... การที่สามีภริยาอยู่ต่างท้องที่กัน หรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราว

ยังคงถือว่าอยู่ร่วมกัน... ถ้าสามีหรือภริยามีความประสงค์จะแยกยื่นรายการแยกกันก็ให้ทำได้ โดยแจ้ง

ให้พนักงานประเมินทราบภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ยื่นรายการ แต่การแยกกันยื่นรายการนั้น ไม่ทำให้ภาษี

ที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และถ้าภริยามี

เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วยหรือไม่

ภริยาจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40

(1) โดยมิให้ถือเป็นเงินได้ของสามี ตามมาตรา 57 ตรี ก็ได้ ตามมาตรา 57 เบญจ แห่ง

ประมวลรัษฎากร

กรณีตามข้อเท็จจริง ภริยามีเงินได้ประเภทเงินเดือน หรือ ตามมาตรา 40 (1) ในปีภาษี

และมีเงินได้ประเภทเงินปันผล หรือ ตามมาตรา 40 (4) (ข) ภริยามีสิทธิเลือกจะแยกยื่น

แบบแสดงรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีได้เฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนเท่านั้น โดยมิให้ถือว่า

เป็นเงินได้ของสามี ส่วนเงินได้ประเภทเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้ของภริยา กฎหมายให้ถือว่าเป็นเงินได้

ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และรับผิดในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี แต่อย่างไรก็ตามถ้าภริยา

ประสงค์จะนำเงินได้ประเภทเงินปันผลไปแยกยื่นต่างหากจากสามีก็ให้ทำได้ โดยแจ้งต่อพนักงานประเมิน

ทราบภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป และผลของการแยกยื่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสีย

เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

3. การขอคืนภาษีอากรมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มีบัญญัติว่า "เว้น แต่จะมี

บทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้ว เป็นจำนวนเงิน

เกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีหรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วัน

สุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่...

...และให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ผู้มีสิทธิขอคืนมี ภูมิลำเนา

หรือ ณ สถานที่อื่นตามที่อธิบดีกำหนด"

กรณีตามข้อเท็จจริง การขอคืนภาษีอากร ผู้มีสิทธิขอคืนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปี

นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการคือนับแต่วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/16714 ลงวันที่ 04 ธันวาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)