เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบแสดงรายการของเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบแสดงรายการของเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพข้อเท็จจริงนาย ส. ทำงานอยู่ บมจ.ธนาคาร ก. เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ต่อมาธนาคาร ก. ได้ควบรวมกิจการกับธนาคาร ข. ทำให้ธนาคาร ก. เลิกกิจการ ดังนั้น พนักงาน ทรัพย์สิน และสิทธิต่างๆ เช่นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมของธนาคาร ก. จึงถูกโอนไปยังธนาคาร ข. ตามกฎหมายจากนั้น ธนาคาร ข. ให้พนักงานธนาคาร ก. เดิมสามารถถอนเงินออกจากกองทุนฯ ได้ โดยพนักงานต้องพ้นจากสมาชิกกองทุนฯ และไม่มีสิทธิใดๆ ที่ธนาคาร ข. จะสมทบเงินสำรองเลี้ยงชีพให้ นาย ส. จึงออกจากกองทุนฯ และได้ถอนเงินกองทุนฯ ออกมา ในปี 2554 นาย ส. มีเงินได้ 2 ประเภท คือ เงินเดือนประจำ และ เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงหารือว่า นาย ส. มีสิทธินำเงินที่ได้รับจากกองทุนฯ มาเลือกคำนวณการยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(1)(2) มาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัยกรณีที่นาย ส. ทำงานเป็นพนักงานของธนาคาร ก. เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี เมื่อธนาคาร ก.ได้ควบรวมกิจการ กับธนาคาร ข. เป็นธนาคาร ข. โดยธนาคาร ก.ได้เลิกกิจการ และนาย ส. ได้โอนมาเป็นพนักงานของธนาคาร ข. ซึ่ง ธนาคาร ข. ให้สิทธิพนักงานของธนาคาร ก. เดิมนำเงินออกจากกองทุนฯ ได้ นาย ส. จึงถอนเงินออกจากกองทุนฯ ทำให้ นาย ส. สิ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนฯ เป็นเหตุให้ไม่สามารถนับอายุการทำงานต่อในการคำนวณเงินได้จากกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ เงินได้ที่นาย ส. ได้รับจากกองทุนฯ ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อนาย ส. มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงย่อมมีสิทธิเลือกเสียภาษี ต่างหากสำหรับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/4372 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 |