Skip to Content

เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ


ข้อเท็จจริง

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ขอให้ดำเนินการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ได้นำส่งกรมสรรพากร ภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลปกครองสูงสุดตาม ซึ่งได้พิพากษาให้เพิกถอนข้อ 1 (1)(ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 จึงขอทราบว่า นาย ก. มีสิทธิขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังกล่าวหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 42(7) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

กรณีที่นาย ก. เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ถึงหนึ่งปี จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว สำหรับกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเพิกถอน ข้อ 1 (1)(ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80)ฯ ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยให้มีผลเป็นการเพิกถอนตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้วก็ตาม นาย ก. ยังคงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ นาย ก. จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีแต่อย่างใด ์




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค. 0706/7518 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2550

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)