เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของพนักงาน
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของพนักงานข้อเท็จจริงสำนักงานส่งเสริม ได้มีข้อบังคับคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ ที่กำหนดให้พนักงานมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาในประเทศในหลักสูตรที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรี ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร และตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุโลม ซึ่ง สำนักงานฯ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตาพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น จึงขอทราบว่า เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรที่ สำนักงานฯ จ่ายให้แก่พนักงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ และ สำนักงานฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1.สำนักงานฯ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าว เมื่อ สำนักงานฯ ได้จ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรให้แก่พนักงาน เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรดังกล่าว จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ทางราชการจ่ายตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร 2.กรณีพนักงานได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรสำนักงานฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้นนั้น ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น สำนักงานฯ ในฐานะผู้จ่ายเงินได้ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/2905 ลงวันที่ 03 มีนาคม 2558 |