เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวข้อเท็จจริงนาง จ. ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 จำนวนเงิน 300,000 บาท ขาย คืนเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 จำนวนเงิน 443,934 บาท มีกำไรจากการขายจำนวน 143,934 บาท และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 นาง จ. นำรายได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 สำหรับปีภาษี 2551 เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ นาง จ. จึงขอทราบว่า การซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 และขายคืน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ถือได้ว่าครบกำหนดขายคืนตามที่กำหนดไว้ 5 ปี หรือไม่ และต้องชำระภาษีเพิ่มเติมหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 42 (17) และกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547)แนววินิจฉัยกรณีนาง จ. ได้ขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหากเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามข้อ 3(67) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547)ฯ ทั้งนี้ วิธีการนับระยะเวลา การถือครองหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ให้ถือการนับตามวิธีการตามตัวอย่างในคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนใน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว กล่าวคือเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี ดังนั้น การขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของนาง จ. ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ถือได้ว่าเป็นการถือ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน จึงเป็นการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับ สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 3(67) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169)ฯ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/7679 ลงวันที่ 15 กันยายน 2552 |