เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีกิจการโรงเรียนเอกชน
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีกิจการโรงเรียนเอกชนข้อเท็จจริงนาย ม. ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนศูนย์ภาษา (โรงเรียนฯ) จากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ประเภท โรงเรียนกวดวิชาและอาชีวศึกษาตามมาตรา 15(2) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ได้รับอนุญาตให้สอนภาษา อังกฤษ ภาษาจีน และกวดวิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ โรงเรียนฯ มีระเบียบการรับนักเรียนเข้าเรียน โดยต้องลงทะเบียนในแบบฟอร์มข้อมูลนักเรียนและเลือกลงทะเบียนตามรายวิชาที่ต้องการเรียน จึงขอหารือดังนี้ 1. กรณีโรงเรียนฯ สอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และกวดวิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยผู้เรียนต้อง ลงทะเบียนและเรียนในสถานที่ของโรงเรียนฯ นั้น รายได้จากค่าสอนดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ 2. กรณีเทศบาลต่างๆ ทำสัญญาจ้างโรงเรียนฯ ให้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษให้แก่เด็กนักเรียนของ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลทุกระดับชั้น ห้องเรียนละ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามหลักสูตรภาษาอังกฤษของกรมวิชาการผสมผสาน กับหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนฯ โดยเน้นการสนทนา การฟัง และการพูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก พร้อมทั้ง ดำเนินการจัดหาครูชาวต่างชาติไปสอนภาษาให้แก่เด็กนักเรียนตามตารางวันและเวลาที่โรงเรียนในสังกัดเทศบาลจัดให้ โดย นักเรียนที่มีความประสงค์จะเรียนในหลักสูตรดังกล่าว จะต้องลงทะเบียนเรียนตามแบบฟอร์มใบสมัครเรียนที่ทางโรงเรียนฯ กำหนด เพื่อเป็นไปตามระเบียบการรับสมัครนักเรียนของโรงเรียนฯ และสะดวกต่อการวัดผลการเรียนของนักเรียน พร้อมทั้ง ประเมินผลการสอนของครูผู้สอนโดยเทศบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย และโรงเรียนฯ จะออกใบเสร็จรับเงินค่าสอนใน นามของเทศบาลผู้จ่ายเงินได้นั้น รายได้จากค่าสอนดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการการศึกษาของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และเทศบาลผู้จ่ายเงินได้ค่าสอน ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 42(17) และมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณีนาย ม. ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และกวด วิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยผู้เรียนต้องลงทะเบียนและเรียนในสถานที่ของโรงเรียนศูนย์ภาษาฯ นั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าว ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แต่ตามมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ยังคงให้ถือว่าโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 เป็นโรงเรียนตามพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ ดังนั้น เงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ เฉพาะที่เป็นเงินได้ค่าเล่าเรียนที่ได้รับจากนักเรียน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้าง ทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนราษฎร์ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน จึงได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 และรายรับที่ได้ จากการประกอบกิจการดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีโรงเรียนฯ ทำสัญญารับจ้างเทศบาลในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษให้แก่เด็กนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลต่างๆ พร้อมทั้งดำเนินการจัดหาครูชาวต่างชาติไปสอนภาษาให้แก่เด็กนักเรียนตามตารางวัน และเวลาที่โรงเรียนในสังกัดเทศบาลจัดให้ โดยเทศบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าสอนนักเรียนให้แก่โรงเรียนฯ เงินค่าจ้าง ที่โรงเรียนฯ ได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่โรงเรียนฯ ได้รับจากบุคคล ภายนอกซึ่งมิใช่นักเรียนของโรงเรียน และไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำ ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ เมื่อเทศบาล จ่ายเงินได้ค่าสอนดังกล่าวให้แก่โรงเรียนฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ ตามมาตรา 50(4) แห่งประมวลรัษฎากร และรายรับดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/3449 ลงวันที่ 07 พฤษภาคม 2552 |