เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินปันผลที่ได้รับเนื่องจากการควบกิจการ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินปันผลที่ได้รับเนื่องจากการควบกิจการข้อเท็จจริงบริษัท ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินปันผลที่ได้รับเนื่องจากการควบกิจการ 1. บริษัท A. ถือหุ้นในบริษัท B. เป็นจำนวนร้อยละ 3.91 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง 2. บริษัท C. ถือหุ้นในบริษัท B. จำนวนร้อยละ 33.75 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง 3. วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 บริษัท A. และบริษัท C. ได้ทำการควบเข้ากันเป็นบริษัทฯ และบริษัทฯ รับโอนหุ้นที่บริษัท A.และ C.ทั้งสองถืออยู่ในบริษัท B. เป็นผลให้บริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท B. รวมเป็นจำนวนร้อยละ 37.66 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และในวันเดียวกันนี้บริษัท B. ได้ปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อพักการโอนหุ้น ต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 บริษัท B. ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น 4. บริษัทฯ ขอหารือว่า กรณีที่บริษัทฯ ได้รับเงินปันผลจากบริษัท B. โดยทั้งบริษัท A. และบริษัท C. ต่างถือหุ้นในบริษัท B. ต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือนก่อนวันที่จะควบเข้ากัน (วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558) บริษัทฯ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลที่รับมามารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน ตามมาตรา 5 เตวีสติ (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 หรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 5 เตวีสติ (2) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10)แนววินิจฉัย1. กรณีที่บริษัทฯ จัดตั้งขึ้นโดยเกิดจากการควบเข้ากันระหว่าง บริษัท A. และบริษัท C. อันเป็นผลให้บริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท B. ต่อมาเมื่อบริษัท B. ทำการจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทฯ ในฐานะผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลทั้งจำนวนมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ต้องปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ถือหุ้นของบริษัท B. เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาจนถึงวันที่มีเงินปันผล และบริษัทฯ จะต้องถือหุ้นในบริษัทอลิอันซ์ฯ ต่อไปอีกไม่น้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับเงินปันผลดังกล่าว ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร 2. การนับระยะเวลาการถือหุ้นของบริษัทฯ ในบริษัท B. กรณีที่มีการควบเข้ากันดังกล่าว บริษัท มีสิทธินับระยะเวลาการถือหุ้นที่บริษัท A. และบริษัท C. ถืออยู่ใน B ก่อนที่จะทำการควบเข้ากันรวมเข้ากับระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับหุ้นมาได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 เตวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 3. อย่างไรก็ดี กรณีที่บริษัทฯ จะนับระยะเวลาการถือหุ้นของบริษัท A. และบริษัท C. เข้ารวมกับระยะเวลาของบริษัทฯ เพื่อจะใช้สิทธิยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลทั้งจำนวนที่ได้รับมารวมคำนวณกำไรสุทธินั้น ต้องปรากฏว่า การถือหุ้นของบริษัทซี A. และบริษัท C. แต่ละบริษัทต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง เมื่อปรากฏว่า บริษัทซ A. ถือหุ้นเป็นจำนวนร้อยละ 3.91 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง จึงถือว่า การถือหุ้นของบริษัท B. มีจำนวนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง เมื่อวันที่ควบเข้ากันกับวันที่ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 และบริษัทฯ ได้ถือเอาระยะเวลาการถือหุ้นของบริษัท A. นับรวมเข้าแล้ว จึงถือว่าบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ในบริษัท B. เป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนวันที่ได้รับเงินปันผล บริษัทฯ จึงต้องนำเงินปันผลเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของที่ได้รับเฉพาะในส่วนที่คิดจ่ายจากจำนวนการถือหุ้นของบริษัท A. มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 5 เตวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ 0702/2915 ลงวันที่ 11 เมษายน 2561 |