เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปข้อเท็จจริงสำนักงานสรรพากรภาค หารือปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการประกอบ วิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้ นายแพทย์ ส. แพทย์แผนปัจจุบันมีใบประกอบโรคศิลป ทำงานในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารของบริษัท โรงพยาบาล ก. จำกัด ตามสัญญาว่าจ้างมีระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป โดยรับผิดชอบดูแลงานคอมพิวเตอร์ การบัญชี การเงิน จัดซื้อ พัสดุ การตลาด บุคลากร และงานธุรการ บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับนายแพทย์ ส. มีกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โดยมีข้อตกลงว่า บริษัทฯ ยินยอมให้นายแพทย์ ส. ใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ของ บริษัทฯ เป็นคลินิกเพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยทั่วไป ในลักษณะเป็นการเปิดคลินิกรักษา ผู้ป่วยของแพทย์ โดยนายแพทย์ ส. เป็นผู้คิดค่ารักษาพยาบาลตามความ ยากง่ายของโรคที่รักษาและ มอบหมายให้บริษัทฯ เป็นผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลแทน บริษัทฯ จะหักค่าใช้จ่ายจากนายแพทย์ ส. ใน อัตราร้อยละ 0.5 ของเงินค่าตรวจรักษา โดยจะทำการตรวจรักษาตามวัน เวลาที่บริษัทฯ กำหนด และ นายแพทย์ ส. ได้ส่งหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา การปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร และงานด้านการตรวจรักษาผู้ป่วยตามสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทฯ นายแพทย์ ส. แจ้งว่า ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีโดยคำนวณเงินได้จากการรับจ้าง แรงงานในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากการเปิดคลินิกในบริษัทฯ คำนวณโดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เจ้าหน้าที่ฯ สำนักงานสรรพากรจังหวัดเห็นว่าเงินได้จากการ เปิดคลินิกในบริษัทฯ ดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร นายแพทย์ ส. ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของเจ้าหน้าที่ฯ จึงขอทราบว่า เงินได้จากการเปิดคลินิกในบริษัทฯ ใน ลักษณะดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่ ภาคฯ เห็นว่า นายแพทย์ ส. ทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของบริษัทฯ อีกทั้งได้ทำ สัญญากับบริษัทฯ เปิดคลินิกรักษาผู้ป่วย โดยบริษัทฯ ยินยอมให้ใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ของบริษัทฯ เปิดเป็นคลินิกเพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยทั่วไป นายแพทย์ ส.ทำงานในด้านการบริหาร งานตลอด เว้นแต่จะมีเวลาเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยเป็นบางช่วงเวลา คือในวันจันทร์ตั้งแต่เวลา 10.00 - 12.00 น. และ 14.00 - 17.00 น. วันอังคารตั้งแต่เวลา 10.00 - 12.00 น. และ วันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา 10.00 - 12.00 น. เท่านั้น และมีข้อตกลงว่า นายแพทย์ ส. จะแบ่งเงินค่า ตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่บริษัทฯ โดยบริษัทฯ เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาจาก ผู้ป่วยแทน นายแพทย์ ส.และบริษัทฯ จะหักค่าใช้จ่ายตามข้อตกลงไว้ร้อยละ 0.5 ของเงินค่าตรวจรักษา ถือว่าเงิน ที่นายแพทย์ ส. เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่ง ประมวลรัษฎากร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(6)แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงนายแพทย์ ส. ทำงานประจำตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของบริษัท โรงพยาบาล ก. จำกัด และได้ทำข้อตกลงการใช้คลินิกเพื่อประกอบโรคศิลปกับบริษัทฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 โดยบริษัทฯ ยินยอมให้นายแพทย์ ส. ใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ของบริษัทฯ เพื่อ ตรวจรักษาผู้ป่วยตามวัน เวลาที่กำหนด โดยบริษัทฯ เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาพยาบาลแทนแพทย์ และแพทย์แบ่งรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 0.5 ของเงินค่าตรวจรักษา ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่ เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวน ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปเข้าลักษณะเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2(2) ของหนังสือซ้อมความเข้าใจ ด่วนที่สุด ที่ กค 0811/ว.2497 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 นายแพทย์ ส. ต้องนำเงินค่าตรวจ รักษาที่เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวน เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/9966 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2544 |