เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายค่าที่ปรึกษากฎหมาย
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจ่ายค่าที่ปรึกษากฎหมายข้อเท็จจริงบริษัท ซ. ประกอบกิจการให้บริการรับฝึกอบรมด้านกระบวนการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การจัด สัมมนาหลักสูตรฝึกอบรมในกิจกรรมทางธุรกิจ และระบบข้อมูลต่าง ๆ โดยมีการว่าจ้างบุคคลธรรมดาให้ เป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ เพื่อให้คำปรึกษาในการทำนิติกรรมสัญญาที่บริษัทฯ จะต้องทำกับ บุคคลภายนอก ให้คำปรึกษาในด้านคดีความที่บริษัทฯ มีการฟ้องร้องและถูกฟ้องร้องตลอดจนให้คำปรึกษา ในเรื่องข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ ที่ปรึกษาของบริษัทฯ ดังกล่าวมิได้มีฐานะ เป็นพนักงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด ซึ่งในการจ่ายค่าตอบแทน บริษัทฯ จะจ่ายเดือนละหนึ่งครั้งใน จำนวนที่เท่ากันทุกครั้ง บริษัทฯ หารือว่า การจ่ายค่าที่ปรึกษากฎหมายดังกล่าวถือเป็นการจ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายใน อัตราร้อยละ 3.0 ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(6)แนววินิจฉัยค่าที่ปรึกษากฎหมายเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเฉพาะที่เป็นผู้มี ภูมิลำเนาในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศไทย มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 7(1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/3021 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2546 |