Skip to Content

เงินได้จากการรับทำงานให้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการรับจ้างพากย์ฟุตบอล

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการรับจ้างพากย์ฟุตบอล


ข้อเท็จจริง

นาย ศ. ได้รับจ้างพากย์ฟุตบอลให้กับบริษัทฯ โดยรับจ้างเป็นครั้งคราวตามฤดูกาลที่ถ่ายทอด

มายังประเทศไทย และไม่ได้มีตำแหน่งอะไรในบริษัทฯ อีกทั้งไม่ได้รับเงินเดือน ในการรับจ้างพากย์จะ

ต้องจัดหาข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับตัวนักฟุตบอลและทีมฟุตบอลจากต่างประเทศทางอินเตอร์เน็ตและ

โทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ได้เบิกจากบริษัทฯ แต่อย่างใด แต่จะเป็นต้นทุนส่วนตัวซึ่งเป็นจำนวนเงินสูง

ในการพากย์แต่ละครั้ง และบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 10.0 โดยถือเป็น

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่นาย ศ.เห็นว่าไม่ถูกต้องเนื่องจาก

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จ่ายไปนั้นไม่ได้นำไปเบิกจากบริษัทฯ และที่ผ่านมาก็ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และ

ภ.ง.ด.90 โดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรมาโดยตลอด จึง

หารือว่าเงินได้จากการพากย์ฟุตบอลดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ในอัตราร้อยละเท่าใดและต้องหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94 ใน

อัตราร้อยละเท่าใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(2)

แนววินิจฉัย

เงินได้จากการรับจ้างพากย์ฟุตบอลเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินได้บริษัทฯ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1)

แห่งประมวลรัษฎากร และต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายโดยระบุว่าเป็นเงินได้ตาม

มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร และในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสิทธิหัก

ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอัตราร้อยละ 40 แต่เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา

40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 42 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/1626 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)