Skip to Content

เงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด


ข้อเท็จจริง

ด้วย นาย ก. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรณี

เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดหรือโครงการร่วมใจจากองค์กรมาให้กรมสรรพากรพิจารณา

การเสียภาษีเงินได้ของพนักงานรัฐวิสาหกิจกรณีเกษียณอายุก่อนกำหนดหรือโครงการร่วมใจจากองค์กร

และกรณีเกษียณอายุปกติ เมื่อไปยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีกรมสรรพากรกำหนดให้

ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจกรอกรายการเงินได้ในแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 แตกต่างกัน

โดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้ครั้งเดียวที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณบำเหน็จ

ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เมื่อได้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องเสียภาษีสูงกว่าข้าราชการกรณีเงินได้เท่ากัน ดังนั้น จึงขอให้พิจารณาให้

พนักงานรัฐวิสาหกิจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับข้าราชการ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(1), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ

แนววินิจฉัย

กรณีเงินบำเหน็จปกติที่พนักงานสำนักงานฯ ได้รับเมื่อได้ทำงานเป็นเวลาต่อเนื่องกันมาจนมี

อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วและทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีบริบูรณ์ซึ่งเป็นกรณีเกษียณอายุทำงาน

ตามปกติ ตามข้อ 5(1) ของข้อบังคับคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.

2516)ฯ เมื่อพิจารณาวิธีการคำนวณเงินบำเหน็จพนักงานฯ ตามข้อบังคับดังกล่าว โดยให้คำนวณจาก

เงินเดือนหรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาทำงาน ตามข้อ 6 ของข้อบังคับดังกล่าว แต่ตาม

ข้อ 4 ของข้อบังคับดังกล่าวกำหนดว่า “เงินเดือนหรือค่าจ้างเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือน

หรือค่าจ้างที่พนักงานหรือลูกจ้างประจำจะได้รับในเดือนสุดท้ายก่อนพ้นหน้าที่ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินค่า

ทำงานนอกเวลา แต่วิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้คำนวณจากเงินเดือนเดือนสุดท้ายโดยให้

หมายความรวมถึงเงินที่ได้เลื่อนไว้ในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นด้วย ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง

พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ

(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2516 (เอกสารแนบ 5) ดังนั้น จึงถือได้ว่าเงินบำเหน็จที่พนักงานได้รับเมื่อ

เกษียณอายุการทำงานตามข้อบังคับดังกล่าวมิได้ใช้วิธีการคำนวณบำเหน็จตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ

บำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ทั้งหมด เงินบำเหน็จดังกล่าวจึงถือเป็น

เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจาก

วิธีการตามข้อ 1(ก) จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามข้อ 1(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ซึ่งผู้มีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหากมีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า

5 ปีจะเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2

และข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ

กรณีพนักงานสำนักงานฯ ลาออกก่อนครบเกษียณอายุการทำงาน หากได้ทำงานมาแล้วไม่

น้อยกว่าสองปีบริบูรณ์จะได้รับเงินบำเหน็จปกติ ตามข้อ 5(4) ของข้อบังคับคณะกรรมการสงเคราะห์

การทำสวนยาง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2516)ฯ เนื่องจากเงินบำเหน็จกรณีนี้มีวิธีการคำนวณตามข้อ 6 ของ

ข้อบังคับดังกล่าวเช่นเดียวกับเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุการทำงานตามปกติ ดังนั้น เงินบำเหน็จที่

พนักงานสำนักงานฯ ได้รับกรณีนี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก

งานที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการ ตามข้อ 1(ก) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามข้อ 1(ง) ของ

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ซึ่งผู้มีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหากมี

ระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีจะเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นได้ตามมาตรา 48(5)

แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2 และข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้

(ฉบับที่ 45)ฯ

นอกจากนี้ การลาออกก่อนครบเกษียณอายุการทำงานพนักงานสำนักงานฯ จะได้รับเงิน

ตอบแทนพิเศษตามระเบียบของสำนักงานฯ โดยมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมิได้เป็นไปตามกฎหมายอื่นใดดังเช่น

เงินได้พึงประเมิน ตามข้อ 1(ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ

และการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษก็มิได้มีวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมาย

ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้

ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการตามข้อ 1(ก) จึงเป็น

เงินได้พึงประเมิน ตามข้อ 1(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ

ซึ่งผู้มีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหากมีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีจะเลือกเสียภาษีแยกต่างหาก

จากเงินได้อื่นได้ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2 และข้อ 3 ของ

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ

เนื่องจากเงินบำเหน็จและเงินตอบแทนพิเศษที่พนักงานสำนักงานฯ ได้รับกรณีเกษียณอายุ

การทำงานและกรณีลาออกก่อนเกษียณอายุการทำงานตาม 1. และ 2. เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามข้อ

1(ง) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ จึงไม่อาจพิจารณาให้

เงินบำเหน็จและเงินตอบแทนพิเศษที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจ่ายให้แก่พนักงาน

สำนักงานฯ เป็นเงินได้ที่คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคำนวณบำเหน็จตามกฎหมาย

ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามข้อ 1(ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้

(ฉบับที่ 45)ฯ ได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706(กม.01)/848 ลงวันที่ 06 ตุลาคม 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)