Skip to Content

เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก

งาน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการเลิกจ้างงาน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการเลิกจ้าง

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการเลิกจ้าง


ข้อเท็จจริง

นาย ส. เป็นลูกจ้างของ กิจการร่วมค้า อ. ตามสัญญาจ้าง 3 ฉบับ คือ

ฉบับที่ 1 ระยะเวลาการจ้าง 1 มิถุนายน 2541 - 31 พฤษภาคม 2542

ฉบับที่ 2 ระยะเวลาการจ้าง 2 มิถุนายน 2542 - 31 ธันวาคม 2542

ฉบับที่ 3 ระยะเวลาการจ้าง 1 มกราคม 2543 - 31 ธันวาคม 2543

หลังจาก 31 ธันวาคม 2543 นาย ส. ยังคงรับจ้างปฏิบัติงานให้กับกิจการร่วมค้าฯ

โดยมิได้ทำสัญญาต่อกัน ต่อมากิจการร่วมค้าฯ ได้มีหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง โดยให้

มีผลเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 และได้จ่ายเงินชดเชยให้จำนวน

427,200.- บาท สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 พิจารณาแล้วเห็นว่า

เมื่อกิจการร่วมค้าฯ ได้ว่าจ้างนาย ส. ปฏิบัติหน้าที่ต่อหลังจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง

ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2542 ตลอดจนมาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 จึง

ได้แจ้งการเลิกจ้าง เงินดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมาย

ว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง เพราะ

งานในตำแหน่งหน้าที่ของนาย ส. ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว มิได้เกิดจากนายจ้างปิดกิจการ

หรือลดจำนวนพนักงานลง จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กิจการร่วมค้า

อ. ได้ทำสัญญาจ้างกับนาย ส. เพียง 3 ฉบับเท่านั้น หลังจากสัญญาจ้างฉบับ

สุดท้ายสิ้นสุดการจ้างในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 แล้วไม่มีการทำสัญญาจ้าง

เนื่องจากนายจ้างเห็นว่า งานตามโครงการไม่แล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปี ต้องจ่าย

ค่าชดเชยแน่นอน ดังนั้น นาย ส. จึงยังคงทำงานอยู่กับกิจการร่วมค้าฯ จนได้รับ

หนังสือแจ้งการเลิกจ้าง ให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยนายจ้าง

(กิจการร่วมค้าฯ) ได้จ่ายค่าชดเชยให้เนื่องจากงานตามโครงการมีกำหนดเวลาเกิน 2

ปี จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(1) มาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ

แนววินิจฉัย

กรณีตามข้อเท็จจริง นาย ส. เป็นลูกจ้างของกิจการร่วมค้า อ. โดยมีกำหนดเวลาที่

แน่นอนตามสัญญาจ้างทั้ง 3 ฉบับ แต่เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้วนาย ส. ลูกจ้างยังคง

ทำงานต่อไป ถือว่า นาย ส. เป็นลูกจ้างของกิจการร่วมค้าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.

2541 จนถึงวันที่มีผลเลิกจ้าง คือ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ ตามมาตรา

581 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นาย ส. จึงเป็นลูกจ้างของกิจการร่วมค้าฯ

ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 รวม 5 ปี 6

เดือน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย

หนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามมาตรา 118 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.

2541 ซึ่งกิจการร่วมค้าฯ ได้จ่ายเงินให้นาย ส. จำนวน 427,200 บาท โดยคำนวณจาก

เงินเดือน 71,200 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รวมระยะเวลา 6

เดือน คือ 180 วัน เงินที่นาย ส. ได้รับเนื่องจากการเลิกจ้างโดยนายจ้างไม่ให้ทำงาน

ต่อไป จำนวน 427,200 บาท เข้าลักษณะเป็นค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่า

ด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก

งานตามข้อ 1(ค) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)

และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตาม

มาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535

นาย ส. จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่

เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้าย แต่ไม่เกินสามแสน

บาทตามข้อ 2(51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542)ฯ ลงวันที่ 13

มกราคม พ.ศ. 2542




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/10024 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)