เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาเป็นผู้รับดำเนินธุรกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ Trunked Mobile จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ในการให้บริการผู้ใช้บริการจะเป็นผู้ ชำระค่าลงทะเบียนการใช้วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ ค่าบริการการใช้บริการ ค่าประกันการใช้บริการ ดังมี รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าลงทะเบียนการใช้วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบ Trunked Mobile โดยบริษัทฯ จะ เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ 1,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 100 บาท โดยเรียกครั้งแรกเพียงครั้งเดียว และไม่มีการคืนเงินดังกล่าวให้กับผู้ใช้บริการไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น 2. ค่าบริการใช้วิทยุคมนาคม คิดค่าบริการตามที่บริษัทฯ กำหนด 3. ค่าประกันการใช้บริการ 3,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 300 บาท ซึ่งบริษัทฯ จะคืนให้ เมื่อสัญญาการใช้บริการสิ้นสุด และผู้ใช้บริการไม่มีหนี้ค้างชำระ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ บริษัทฯ ขอทราบว่า ค่าประกันการใช้บริการ ตามรายละเอียดข้างต้น จะถือเป็นเงินได้นิติบุคคล และจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯแนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น เงินประกันการใช้วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ เรียกเก็บหมายเลข ละ 3,000 บาท และจะคืนให้ผู้ใช้บริการเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงดังกล่าว ไม่ถือเป็นรายได้ที่เรียกเก็บใน ลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้บริการตามข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจองลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เงินประกันจำนวน 3,000 บาท ข้างต้น จึงไม่ถือเป็นรายได้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ผู้ให้บริการ ดังนั้น บริษัทผู้จ่ายเงินประกัน จึงไม่มีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อจ่ายเงินประกันก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/14010 ลงวันที่ 28 กันยายน 2541 |