เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการใช้บริการโทรศัพท์
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการใช้บริการโทรศัพท์ข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในระบบเซลลูล่าร์ 900 และ Digital GSM ซึ่งในการให้บริการดังกล่าว ลูกค้าผู้ใช้บริการจะ ต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ ให้แก่บริษัทฯ ดังต่อไปนี้ 1. ค่าธรรมเนียมการขอใช้หมายเลข จำนวน 1,000 บาท เรียกเก็บเมื่อลูกค้าขอใช้ บริการและไม่มีการจ่ายคืนให้ 2. เงินประกันการใช้บริการ จำนวน 3,000 บาท ซึ่งจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการเมื่อสิ้นสุด สัญญาการให้บริการ และผู้ใช้บริการไม่ติดค้างชำระหนี้ค่าบริการ 3. ค่าเช่าหมายเลข จำนวน 500 บาท ต่อเดือน 4. ค่าบริการการใช้โทรศัพท์ นาทีละ 3 บาท, 8 บาท, และ 12 บาท ตามเขตพื้นที่ที่ ผู้ใช้บริการโทรออกไปถึง บริษัทฯ มีความเห็นว่า เงินประกันการใช้บริการที่บริษัทฯ ได้เรียกเก็บจากผู้ขอใช้บริการ ตามข้อ 2 ข้างต้น ไม่ควรนำมาถือเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และผู้ใช้บริการไม่มีหน้าที่ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในขณะจ่ายเงิน จึงขอทราบว่า ความเห็นของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541ฯแนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น เงินประกันการใช้บริการโทรศัพท์ที่บริษัทฯ เรียกเก็บหมายเลข ละ 3,000 บาท และจะคืนให้ผู้ใช้บริการเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงดังกล่าว ไม่ถือเป็นรายได้ที่เรียกเก็บใน ลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้บริการตามข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ดังนั้น เงินประกันจำนวน 3,000 บาท ข้างต้น จึงไม่ถือเป็นรายได้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ผู้ให้บริการ และ บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินประกันไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/02290 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2542 |