Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ


ข้อเท็จจริง

เอ และ บี ได้เข้าร่วมและชนะการประมูลกลุ่มหนี้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ ปรส. ได้จัดขึ้นใน

เดือนกรกฎาคม 2541 โดยได้จัดตั้งบริษัท ก จำกัด ขึ้นมาในประเทศไทย เพื่อรับโอนและดูแลสินทรัพย์ที่

ประมูลมาได้โดยเฉพาะ บริษัทฯ ขอสอบถามและขอนำเสนอวิธีการรับรู้รายได้ที่บริษัทฯ เห็นว่าเหมาะสม

และเป็นธรรมต่อกรมสรรพากรและบริษัทฯ ดังนี้

1. บริษัทฯ ขอเสนอวิธีการรับรู้รายได้ออกเป็น 2 กรณี คือ

(1) วิธี "Cost recovery" ซึ่งเป็นการตั้งพักส่วนต่างระหว่างราคามูลหนี้กับราคา

ซื้อหนี้สุทธิไว้โดยจะรับรู้ส่วนต่างเป็นรายได้เพื่อนำไปคำนวณกำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

เมื่อผู้รับโอนสามารถเรียกเก็บหนี้ได้เกินกว่าราคาซื้อสุทธิ

(2) วิธี "Level yield" เป็นการคำนวณโดยหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแส

เงินสดที่จะได้รับทั้งหมดในอนาคตคิดลดมาในเวลาปัจจุบันเท่ากับราคาซื้อสุทธิ (เงินทุน) อัตราผล

ตอบแทนที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงสำหรับกลุ่มหนี้ที่รับซื้อมาในราคาที่มีส่วนต่างจากราคา

มูลหนี้สูง และจะนำมาใช้ในการคำนวณหารายได้ แทนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งไม่สามารถ

สะท้อนผลตอบแทนที่แท้จริงที่ผู้รับโอนจะได้รับในอนาคตจากสัญญาเช่าซื้อที่รับโอนมา

2. บริษัทฯ ขอรับรู้รายได้เป็นรายกลุ่มหนี้แทนการรับรู้รายได้เป็นรายสัญญา ตามวิธีการที่

กรมสรรพากร ให้ถือปฏิบัติ เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทฯ ประมูลได้มีถึง 225,000 สัญญา


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. พิจารณาแล้วเห็นว่า วิธีการรับรู้รายได้ของบริษัทฯ ทั้ง 2 วิธีดังกล่าว

ไม่มีสิทธิปฏิบัติได้ เนื่องจากวิธี "Cost recovery" จะรับรู้รายได้ต่อเมื่อผู้รับโอนสามารถเรียกเก็บหนี้

ได้เกินกว่าราคาซื้อสุทธิ และวิธีการ "Level yield" เป็นการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะ

ได้รับในอนาคตจึงไม่แน่นอนไม่เป็นไปตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อมีจำนวนมาก ดังนั้น หากบริษัทฯ สามารถพิสูจน์ได้

ว่าการคำนวณเป็นรายสัญญาหรือรายกลุ่ม รายได้สุทธิที่จะต้องรับรู้เพื่อการเสียภาษีจะเท่ากันก็อนุมัติให้

บริษัทฯดำเนินการรับรู้รายได้เป็นรายกลุ่มหนี้ได้แต่ต้องจัดทำรายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อ

ประกอบการบันทึกบัญชีด้วย ทั้งนี้ ตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับการ

รับซื้อลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ลงวันที่ 24 กันยายน 2541




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/03661 ลงวันที่ 22 เมษายน 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)