Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้


ข้อเท็จจริง

หารือแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายรถที่ได้ยึดคืนมาจาก

ผู้เช่าซื้อ โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ สมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย จะทำการยึด

รถยนต์ซึ่งให้เช่าซื้อคืนจากผู้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อผิดข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ เช่น ค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3

งวด ติดต่อกัน หรือใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อในลักษณะที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น การผิดข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหตุให้

บริษัทผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งผู้เช่าซื้อต้องดำเนินการส่งมอบรถยนต์ดังกล่าวคืนให้แก่บริษัท

ผู้ให้เช่าซื้อ หากผู้เช่าซื้อไม่ส่งมอบรถยนต์คืน บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะทำการติดตามยึดรถยนต์และนำมา

จำหน่ายต่อไป ซึ่งตามวิธีปฏิบัติทางบัญชี เมื่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อยึดรถยนต์คืนมาได้ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะ

บันทึกบัญชีโดยโอนยอดคงเหลือสุทธิของบัญชีลูกหนี้เช่าซื้อ โดยหักบัญชีดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชีสำหรับ

ผู้เช่าซื้อรายนั้นไปแสดงในบัญชีทรัพย์สินรอการขาย หากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อขายรถยนต์ซึ่งยึดมาได้โดย

ราคาขายสูงกว่าราคาตามบัญชีของทรัพย์สินรอการขายบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะรับรู้กำไรที่เกิดขึ้นจาก

การจำหน่ายทรัพย์สินยึดคืน แต่หากราคาขายต่ำกว่าราคาตามบัญชีที่บันทึกไว้ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะรับรู้เป็น

ขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สินยึดคืน จึงหารือว่า

1. กรณีบริษัทผู้ให้เช่าซื้อขายรถยนต์ที่ยึดคืนมาได้ออกไป บริษัทผู้ให้เช่าซื้อควรรับรู้เป็นกำไร

หรือขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจำหน่ายหรือไม่ เพราะผลต่างซึ่ง

เป็นกำไรหรือขาดทุนดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อย่อมนำมาหักเป็น

รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินยึดคืน

2. กรณีบริษัทขายรถยนต์ที่ยึดมาได้ในราคาต่ำกว่าราคาตามบัญชีที่บันทึกไว้ ซึ่งหากบริษัท

ผู้ให้เช่าซื้อดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายซึ่งเป็นผลขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สินยึดคืน โดย

บริษัทผู้ให้เช่าซื้อสามารถบังคับคดีจนได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายจากลูกหนี้และผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่าซื้อ

รายนั้น บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะบันทึกรับรู้เป็นค่าเสียหายที่ได้รับคืนตามจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้ในแต่ละ

รอบระยะเวลาบัญชีหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65

แนววินิจฉัย

1. การรับรู้รายได้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะต้อง

บันทึกรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อทำการยึด

รถยนต์และจำหน่ายไป บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะต้องรับรู้รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจำหน่ายรถยนต์ที่

ยึดคืนดังนี้

(ก) กรณีรายได้จากการขายรถยนต์ที่ยึดคืนรวมกับเงินค่างวดที่บริษัทผู้ให้เช่าซื้อได้รับ

ชำระมีจำนวนมากกว่าจำนวนรายได้ที่บริษัทผู้ให้เช่าซื้อได้รับรู้เป็นรายได้ไว้แล้ว ผลต่างดังกล่าวถือเป็น

ประโยชน์จากการขาย บริษัทผู้ให้เช่าซื้อต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มี

การจำหน่ายรถยนต์

(ข) กรณีรายได้จากการขายรถยนต์ที่ยึดคืนรวมกับเงินค่างวดที่บริษัทผู้ให้ เช่าซื้อได้รับ

ชำระมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนรายได้ที่บริษัทผู้ให้เช่าซื้อได้รับรู้เป็นรายได้ไว้แล้วผลต่างดังกล่าวถือเป็น

ผลเสียหายอันเนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจำหน่ายรถยนต์ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่ง

ประมวลรัษฎากร

2. กรณีบริษัทผู้ให้เช่าซื้อดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายซึ่งเป็นผลขาดทุนจาก

การจำหน่ายรถยนต์ที่ยึดคืนและสามารถบังคับคดีจนได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายจากลูกหนี้และ ผู้ค้ำประกัน

ตามสัญญาเช่าซื้อ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อสามารถรับรู้เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน

ชำระค่าเสียหาย




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/3995 ลงวันที่ 29 เมษายน 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)