Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้เงินชดเชยภาษีอากร

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้เงินชดเชยภาษีอากร


ข้อเท็จจริง

ในปัจจุบันผู้เสียภาษีซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ขอรับเงินชดเชยภาษีจากการส่งออก (บัตรภาษี)

มีวิธีการรับรู้รายได้แตกต่างกันดังนี้

1. รับรู้รายได้เมื่อยื่นคำขอรับเงินชดเชย เนื่องจากผู้ประกอบการที่ส่งออกจะได้รับ

เงินชดเชยภาษีอากรในอัตราที่แน่นอน ตามอัตราเงินชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออก ตามพระราชบัญญัติ

ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงเข้าใจว่าการที่

ผู้ประกอบการรับรู้รายได้ในกรณีดังกล่าวเป็นการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิแล้ว ซึ่งในบางกรณี

ผู้ประกอบการได้มีการโอนขายสิทธิในการรับบัตรภาษีให้กับธนาคารหรือผู้ประกอบการอื่นๆ ก่อนเวลาที่ได้

รับอนุมัติให้ได้รับบัตรภาษีด้วย

2. ผู้ประกอบการบางรายรับรู้รายได้บัตรภาษีเมื่อได้รับบัตรภาษี และหากมีการโอนขาย

บัตรภาษีไปจะรับรู้รายได้ ณ วันที่ได้รับเงินจากการขายซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่กรมศุลกากรอนุมัติ

3. ผู้ประกอบการบางรายรับรู้รายได้เมื่อกรมศุลกากรอนุมัติให้รับบัตรภาษี

จึงขอทราบว่าทางปฏิบัติดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65

แนววินิจฉัย

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยภาษีจากการ

ส่งออกในรูปของบัตรภาษี ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร

พ.ศ. 2524 ผู้ส่งออกนั้นจะต้องรับรู้มูลค่าของบัตรภาษีเป็นรายได้ของบริษัทฯ เมื่อกรมศุลกากรอนุมัติให้

ได้รับบัตรภาษี ตามหลักเกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่ง

ประมวลรัษฎากร

ส่วนกรณีการรับรู้รายได้เมื่อยื่นคำขอรับเงินชดเชย หรือ การรับรู้รายได้เมื่อได้รับบัตรภาษี

ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

ดังกล่าว




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/1519 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)