เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้เงินชดเชยภาษีอากรจากการส่งออกสินค้า
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้เงินชดเชยภาษีอากรจากการส่งออกสินค้าข้อเท็จจริงบริษัท C ได้ส่งออกสินค้ากึ่งสำเร็จรูปแช่แข็งและได้รับชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี โดย บัตรภาษีที่บริษัทฯ ได้รับกรมศุลกากรจะลงวันที่ในบัตรภาษีและส่งมอบให้แก่บริษัทฯ หลังจากวันที่บริษัทฯ ได้มีการส่งออกสินค้าแล้วเป็นเวลาหลายเดือน บริษัทฯ จึงหารือว่า กรณีบริษัทฯ ได้รับบัตรภาษีภายหลัง จากที่บริษัทฯ ได้ปิดรอบระยะเวลาบัญชีไปแล้ว บริษัทฯ จะรับรู้เงินชดเชยภาษีอากรเป็นรายได้ใน รอบระยะเวลาบัญชีใด และหากบริษัทฯ รับรู้เงินชดเชยภาษีอากรตามบัตรภาษีเป็นรายได้ไม่ตรง รอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ จะต้องรับผิดเสียภาษีและเบี้ยปรับหรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 27 มาตรา 65แนววินิจฉัย1. กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยภาษีจากการส่งออกในรูปของบัตร ภาษี ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 บริษัทฯ จะ ต้องรับรู้มูลค่าของบัตรภาษีเป็นรายได้เมื่อได้รับหนังสือแจ้งอนุมัติให้ได้รับบัตรภาษีจากกรมศุลกากรตาม หลักเกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีบริษัทฯ มิได้รับรู้เงินชดเชยภาษีอากรเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ได้ รับหนังสือแจ้งอนุมัติให้ได้รับบัตรภาษีจากกรมศุลกากร บริษัทฯ จะต้องปรับปรุงรายการและยื่น แบบแสดงรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้ถูกต้องต่อไป และหากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2936 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2547 |