Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ


ข้อเท็จจริง

บริษัท T ประกอบกิจการเป็นผู้จำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ในการจำหน่ายสินค้านั้นบริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าพร้อมกับการส่งมอบสินค้าโดยการชำระเงินจะเกิดขึ้นหลังจากส่งมอบสินค้า นับระยะเวลาตั้งแต่ส่งมอบสินค้าตามเครดิตเทอมที่ลูกค้าได้รับ ในการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้ บริษัทฯ จะบันทึกรับรู้รายได้ในวันที่บริษัทฯ ได้ส่งมอบสินค้าพร้อมใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า พร้อมกันนั้น บริษัทฯ จะบันทึกตัดสต๊อกสินค้าที่ได้จำหน่ายเพื่อรับรู้ต้นทุนขาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 เรื่องการรับรู้รายได้ ในการรับรู้รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์สิทธิ บริษัทฯ เห็นว่าสิทธิตามกฎหมายของบริษัทฯ จะเกิดก็ต่อเมื่อบริษัทฯ ได้ทำการส่งมอบสินค้าพร้อมใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้า ให้แก่ลูกค้า บริษัทฯ จึงปฏิบัติเช่นเดียวกับการบันทึกบัญชี โดยจะรับรู้รายได้ในวันที่บริษัทฯได้ส่งมอบสินค้าพร้อมใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าให้ลูกค้า พร้อมตัดสต๊อคสินค้าที่ได้จำหน่ายเพื่อรับรู้ต้นทุนขาย บริษัทฯ จึงหารือว่า ความเห็นของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

ในการรับรู้รายได้รายจ่ายของบริษัทฯ ต้องใช้เกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 กล่าวคือ การรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อ คือ วันที่บริษัทฯ ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/10573 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2550

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)